มารยาทในโลกออนไลน์
1) อย่าเปิดเผยข้อมูลของตัวเองมากเกินไปนัก ไม่ ต้องบอกให้รู้ว่าบ้านเลขที่เท่าไร ทำงานอะไร
เงินเดือนเท่าไร บอกในสิ่งที่พอจะบอกได้ว่าคุณมีตัวตนจริง ๆ ก็พอ ถ้ารู้ตัวว่าชีวิตมีด้านมืดที่เพื่อนร่วมงานอาจไม่อิน
แนะนำให้เปิดอีกชื่อหนึ่ง บอกให้เพื่อนร่วมงานและเจ้านายรู้
เพื่อแยกเรื่องส่วนตัวออกจากเรื่องงาน
2) ถ้าเราเข้าไปตีสนิทกับคนแปลกหน้าทางออนไลน์รวดเร็วเกินไป
อาจทำให้เขาหวาดระแวงว่าคุณจะเป็นมิจฉาชีพ หรือชักชวนไปขายตรง
(โดยที่คุณไม่เต็มใจ) ในทำนองเดียวกัน ถ้ามีเพื่อนใหม่อยากตีสนิทกับคุณเร็วเกินไป
ก็ต้องระวังว่าจุดประสงค์คือ อยากมีเพื่อนใหม่จริงๆ หรือมาขอยืมเงิน
3) อย่าเอาทุกอย่างไปใส่มาก
ถึงลบไปแล้ว ก็ยังกู้กลับมาได้ใหม่ เพราะฉะนั้นคิดให้ดีก่อนเขียนอะไรลงไป
อย่าคิดว่าแค่ลบคนจะจำไม่ได้ เดี๋ยวนี้คนเก่งคอมฯ มีเยอะแยะ
และเร็วพอที่จะถ่ายหน้าจอไว้ทันนะจ๊ะ
4) อย่าอินกับสิ่งที่มองไม่เห็น
ปิดคอมฯ แล้วก็จบ อย่าเก็บเอาไปคิด โลกนี้ไม่ได้มีแค่อินเทอร์เน็ตกับเฟซบุ๊ก
เอาเวลาออกไปใช้ชีวิตจริงบ้าง
5) อย่าคาดหวังให้ดารา
หรือเซเลบคนดัง (Celebrity) มาสนใจคุณ เขาอาจมีหน้าที่ที่ต้องทำอีกมากมาย
เกินกว่าจะมาตอบคำถามของคุณ ยกเว้นเสียแต่ว่าเป็นช่วง เวลานาทีทอง คนดังบอกว่า
อยากตอบคำถามแฟนคลับ คุณก็ต้องรีบฉกฉวยโอกาสนี้ คนดังเองก็ต้องตอบประชาชนบ้าง
เพื่อสร้างความสัมพันธ์และเข้าถึงประชาชน คงจะทำให้แฟนคลับเพิ่มขึ้นอีกมาก
ที่รู้ว่าดาราหรือเซเลบของเขามองเห็นตัวตน
6) หัดให้มากกว่ารับ
ถ้าเจอข้อความหรือบทความที่ดี โดนใจ และเป็นประโยชน์ เสียเวลาไปกดปุ่มคลิกสักนิด
เพื่อทำให้เรื่องราวนั้นได้ไปสู่วงกว้างขึ้น
เพื่อนของเราจะได้รู้ในสิ่งที่มีประโยชน์ บล็อกเกอร์บางคนเคยตัดพ้อว่า
อุตส่าห์เขียนบล็อกมาตั้งยาว และตั้งใจค้นคว้าหาเนื้อหามาเขียน
แต่ไม่มีคนคอมเมนต์หรือกดแชร์ก็รู้สึกท้อใจบ้างเหมือนกัน ดังนั้น ถ้าใครเขียนดี
อย่าลืมแวะมาทิ้งความเห็นที่บอกให้เขารู้บ้าง และในทางกลับกัน ถ้าคุณไม่เห็นด้วย
ก็ควรบอกให้เขารู้ด้วยการเขียนคอมเมนต์ไปตอบเขาเพื่อแลกเปลี่ยน
ความคิดกันในเชิงสร้างสรรค์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น