นางสาวปารมี บุญโท
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6/6 เลขที่18
โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์

วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

มารยาทในการใช้ห้องสมุด

  ๑. ไม่นำกระเป๋า , ถุง ย่าม และอุปกรณ์เครื่องใช้เข้าห้องสมุด                   
  ๒.ไม่นำอาหาร, เครื่องดื่ม เข้ามารับประทานในห้องสมุด                          
  . ไม่ตัดหรือขีดเขียนหนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ของห้องสมุด                  
  ๔. ไม่วิ่งเล่น หรือ ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น
  ๕. ไม่ใช้ห้องสมุดเป็นที่พักผ่อนหลับนอน และไม่นำหนังสือมาหนุนนอน
  ๖. เมื่ออ่านหนังสือพิมพ์ และวารสารแล้ว ต้องนำเก็บที่เดิมทุกครั้ง
  . ก่อนออกจากห้องสมุด ให้จัดเก้าอี้เข้าที่เดิมทุกครั้ง
  ๘. เมื่อมีปัญหาในการค้นคว้าหาหนังสือ ให้สอบถามบรรณารักษ์หรือ  เจ้าหน้าที่ห้องสมุด


มารยาทในโรงหนัง


1. เสียงดัง คุยโทรศัพท์ เล่นโซเชียล หรือจะเป็นพวกที่เสียงมือถือดังขึ้น ไม่กดรับหรือปิดสาย ปล่อยให้เสียงดังไปอยู่อย่างนั้น ควรดูเงียบๆ ออกอาการได้บ้าง เช่น ฉากตกใจ ตลก หรือฉากอื่นๆ ก็ตามแต่ ก็อย่าเยอะจนไปรบกวนคนอื่นเขา อยากให้ทุกคนดูหนังกันแบบสนุกๆ แต่ต่อให้คุณสนุกมาก ประทับใจมากแค่ไหน น่าจะเก็บอาการหน่อย มาดูกับส่วนรวม ควรเอาใจเขามาใส่ใจเราบ้าง ควรปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดก่อนที่จะเข้าไปชมภาพยนตร์ในโรงหนัง ไม่งั้นก็ปิดเสียงเรียกเข้าซะ แล้วเปิดสั่นไว้แทน หรือถ้าจะคุยโทรศัพท์ ก็ไปคุยข้างนอกโรง แล้วค่อยเข้ามาใหม่

2.
ยกเท้า นั่งไขว่ห้าง หรือคนที่เอาเท้าแหย่ไปตรงช่องเก้าอี้ด้านหน้า ดันเก้าอี้ของคนข้างหน้า เพื่อความสบายของตัวเอง โดยไม่คำนึงว่าคนที่อยู่แถวล่างจะเป็นอย่างไร มันเป็นเรื่องที่ไม่ควรจะทำจริงๆ เป็นสิ่งที่น่ารำคาญมากๆ และไม่ควรเป็นอย่างยิ่ง

3.
กลิ่นไม่พึงประสงค์ หลายๆ คนจะชอบถอดรองเท้า แล้วนั่งดูหนังอย่างสบายใจเหมือนอยู่บ้านตัวเอง มันก็เกินไปหน่อย คนที่ไม่มีกลิ่นเท้าก็ไม่เป็นไรหรอก แต่สำหรับคนที่มีกลิ่นที่ไม่น่าพึงประสงค์สักเท่าไหร่ ก็ควรใส่รองเท้า อย่าให้กลิ่นที่ไม่น่าพึงประสงค์ ออกมารบกวนจมูกของคนอื่นเลย

4.
พากย์หนังทั้งเรื่อง คนจำพวกนี้ หลายๆ ท่านคงต้องเคยเจอในโรงภาพยนตร์กันมาบ้างไม่มากก็น้อย คงจะรำคาญกันอยู่ทีเดียวเลยแหละ บางคนถึงขั้นทนไม่ได้ มีด่าทอกันตามประสาก็มีเหมือนกัน การไม่เล่าตอนสําคัญๆ ของหนัง ถือเป็นมารยาทที่สำคัญมากที่สุดของเหล่านักดูหนัง เพราะคนอื่นเค้าก็ต้องการความสนุก และลุ้นกับเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นต่อไปในหนัง ต้องคิดแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา คิดดู ถ้าเราตั้งใจจะไปดูหนังเรื่องหนึ่ง แล้วดันไปเจอคนเล่าตอนจบให้ฟังซะหมดเปลือก คงจะแย่มิใช่น้อยเลย

5.
คู่รักจู๋จี๋ จิ๊จ๊ะ ก็เข้าใจนะว่าคู่รักหลายคู่อยากมีโมเมนต์ออดอ้อน ออเซาะกันบ้าง แต่ก็ใช่ว่าจะคุยกันทั้งเรื่อง ยังไงก็อ้อนกันแค่เบาๆ พองาม ไม่อย่างนั้นคนข้างๆ อาจจะคิดว่าคุณมาดูหนังหรือมาทำอะไรกันแน่ คนที่คิดว่าจะทำอะไรๆ กัน ก็ควรไปทำกันในที่ส่วนตัวของตัวเอง โรงหนังไม่ใช่พื้นที่ส่วนตัวนะจ๊ะ สงสารคนดูที่เขาตั้งใจมาดูหนังกันบ้าง หรือถ้าอยากดูหนังแบบสวีทหวานวี้ดวิ้ว ก็ให้นั่งแบบเก้าอี้คู่ เก้าอี้ส่วนตัว
มารยาทในโลกออนไลน์

1) อย่าเปิดเผยข้อมูลของตัวเองมากเกินไปนัก ไม่ ต้องบอกให้รู้ว่าบ้านเลขที่เท่าไร ทำงานอะไร เงินเดือนเท่าไร บอกในสิ่งที่พอจะบอกได้ว่าคุณมีตัวตนจริง ๆ ก็พอ ถ้ารู้ตัวว่าชีวิตมีด้านมืดที่เพื่อนร่วมงานอาจไม่อิน แนะนำให้เปิดอีกชื่อหนึ่ง บอกให้เพื่อนร่วมงานและเจ้านายรู้ เพื่อแยกเรื่องส่วนตัวออกจากเรื่องงาน
2) ถ้าเราเข้าไปตีสนิทกับคนแปลกหน้าทางออนไลน์รวดเร็วเกินไป อาจทำให้เขาหวาดระแวงว่าคุณจะเป็นมิจฉาชีพ หรือชักชวนไปขายตรง (โดยที่คุณไม่เต็มใจ) ในทำนองเดียวกัน ถ้ามีเพื่อนใหม่อยากตีสนิทกับคุณเร็วเกินไป ก็ต้องระวังว่าจุดประสงค์คือ อยากมีเพื่อนใหม่จริงๆ หรือมาขอยืมเงิน
3) อย่าเอาทุกอย่างไปใส่มาก ถึงลบไปแล้ว ก็ยังกู้กลับมาได้ใหม่ เพราะฉะนั้นคิดให้ดีก่อนเขียนอะไรลงไป อย่าคิดว่าแค่ลบคนจะจำไม่ได้ เดี๋ยวนี้คนเก่งคอมฯ มีเยอะแยะ และเร็วพอที่จะถ่ายหน้าจอไว้ทันนะจ๊ะ
 4) อย่าอินกับสิ่งที่มองไม่เห็น ปิดคอมฯ แล้วก็จบ อย่าเก็บเอาไปคิด โลกนี้ไม่ได้มีแค่อินเทอร์เน็ตกับเฟซบุ๊ก เอาเวลาออกไปใช้ชีวิตจริงบ้าง
5) อย่าคาดหวังให้ดารา หรือเซเลบคนดัง (Celebrity) มาสนใจคุณ เขาอาจมีหน้าที่ที่ต้องทำอีกมากมาย เกินกว่าจะมาตอบคำถามของคุณ ยกเว้นเสียแต่ว่าเป็นช่วง เวลานาทีทอง คนดังบอกว่า อยากตอบคำถามแฟนคลับ คุณก็ต้องรีบฉกฉวยโอกาสนี้ คนดังเองก็ต้องตอบประชาชนบ้าง เพื่อสร้างความสัมพันธ์และเข้าถึงประชาชน คงจะทำให้แฟนคลับเพิ่มขึ้นอีกมาก ที่รู้ว่าดาราหรือเซเลบของเขามองเห็นตัวตน 
6) หัดให้มากกว่ารับ ถ้าเจอข้อความหรือบทความที่ดี โดนใจ และเป็นประโยชน์ เสียเวลาไปกดปุ่มคลิกสักนิด เพื่อทำให้เรื่องราวนั้นได้ไปสู่วงกว้างขึ้น เพื่อนของเราจะได้รู้ในสิ่งที่มีประโยชน์ บล็อกเกอร์บางคนเคยตัดพ้อว่า อุตส่าห์เขียนบล็อกมาตั้งยาว และตั้งใจค้นคว้าหาเนื้อหามาเขียน แต่ไม่มีคนคอมเมนต์หรือกดแชร์ก็รู้สึกท้อใจบ้างเหมือนกัน ดังนั้น ถ้าใครเขียนดี อย่าลืมแวะมาทิ้งความเห็นที่บอกให้เขารู้บ้าง และในทางกลับกัน ถ้าคุณไม่เห็นด้วย ก็ควรบอกให้เขารู้ด้วยการเขียนคอมเมนต์ไปตอบเขาเพื่อแลกเปลี่ยน ความคิดกันในเชิงสร้างสรรค์


การปฏิบัติตนต่อญาติผู้ใหญ่

1.รักและเคารพต่อผู้ใหญ่
2.ไม่นินทาผู้ใหญ่
3.ช่วยงานผู้ใหญ่เสมอ
4.เวลาพูดควรมีหางเสียงเสมอ
5.ควรมีมารยาทต่อผู้ใหญ่เสมอ
6.เมื่อผู้ใหญ่ว่ากล่าวตักเตือนควรเชื่อฟัง
7.พูดจาไพเราะต่อผู้ใหญ่เสมอ
8.ทำกิริยามารยาทให้เหมาะสม
9.ไม่ควรพูดแซงเวลาผู้ใหญ่คุยกัน
10.มีความกตัญญูต่อผู้ใหญ่เสมอ


มารยาทในการแต่งกายที่พึงประสงค์


การแต่งกายเป็นมารยาททั่ว ๆ ไปซึ่งทุกคนต้องปฏิบัติเหมือนกันตามแต่โอกาสที่เหมาะสม เช่น แต่งกายไปทำงาน,ไปวัด ทำบุญ,ไปเล่นกีฬา และงานพิธีต่าง ๆ หรือการแต่งกายที่อยู่ในเครื่องแบบของนักเรียน นักศึกษา ทหาร ตำรวจ บริษัทห้างร้านที่กำหนดให้พนักงานแต่งกาย เป็นต้น หากบุคคลใดสามารถปฏิบัติได้ตามกฎระเบียบที่กำหนดถือว่าเป็นผู้มีมารยาทในการแต่งกายที่ดี
     
เครื่องแต่งกายเป็นสิ่งแรกที่สะดุดตาผู้ที่พบเห็น ถ้าแต่งกายเหมาะสมก็จะก่อให้เกิดความประทับใจในทางที่ดี หากแต่งตัวไม่เหมาะสมผู้อื่นก็จะมองเราในลักษณะที่ไม่สู้ดีนัก แม้จะเป็นความจริงว่าคนเลวอาจซ่อนร่างอยู่ในเครื่องแต่งกายที่เรียบร้อยสวยงามก็ได้ แต่ถ้าคนดีมีความรู้ความสามารถนั้นหากแต่งกายไม่เหมาะสม คนที่พบเห็นครั้งแรกอาจไม่เกิดความนิยม เลื่อมใส และเป็นการปิดโอกาสของตนเองที่จะได้แสดงความดีและความสามารถ ดั้งนั้น การแต่งกายจึงเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรก หลักสำคัญเกี่ยวกับการแต่งกาย คือ แต่งกายสะอาด แต่งกายสุภาพเรียบร้อย และแต่งกายถูกต้องตามกาลเทศะ
     
การแต่งกายสะอาด ความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญ แต่ความสะอาดในที่นี้ไม่เกี่ยวกับ ความเก่าความใหม่ เพราะเครื่องแต่งกายที่ใหม่อาจสกปรกก็ได้ และเครื่องแต่งกายที่เก่ามีรอยปะชุนก็อาจดูสะอาดได้ หรือเครื่องแต่งกายราคาแพงก็อาจดูสกปรกได้ แต่เครื่องแต่งกายราคาถูกก็ดูสะอาดได้ ดังนั้น คนฐานะที่ไม่ดีนักก็สามารถแต่งตัวสะอาดได้เท่ากับคนฐานะดี โดยเสื้อผ้าที่เราสวมใส่อยู่นั้นก็ควรซักรีดให้เรียบร้อย รองเท้าก็ขัดให้ดูพองาม กระเป๋าก็เช็ดถูให้ดูสะอาดเหล่านี้ใคร ๆ ก็ทำได้ แต่จะทำหรือไม่เท่านั้น อนึ่งการอาบน้ำชำระกายให้สะอาด และการดูแลเล็บมือ เล็บเท้ามิให้สกปรก ก็เป็นสิ่งที่ควรดูแลรักษาทำความสะอาดด้วย
การแต่งกายสุภาพเรียบร้อย การแต่งกายควรแต่งให้เรียบร้อยพอควร เพราะ คนแต่ละคนหรือสังคมแต่ละแห่ง อาจมีเกณฑ์วัดความสุภาพเรียบร้อยต่างกันออกไป แต่ถ้าใช้สามัญสำนึกสักหน่อย ก็จะพอรู้ว่าในสังคมไทยแต่งกายอย่างไรจึงจะถือว่าแต่งกายเรียบร้อย และอย่างไรถือว่าไม่เรียบร้อย เช่น การใส่เสื้อกล้ามไปร้านอาหาร การแต่งกายโดยเปิดเผยให้เห็นส่วนของร่างกายที่ควรสงวน หรือใส่เสื้อผ้ารัดแน่นจนน่าเกลียด หรือสวมกระโปรง กางเกงที่สั้นมาก ๆ เพื่อต้องการแสดงและเน้นสรีระของร่างกาย โดยเฉพาะการแต่งกายดังกล่าวข้างต้นไปในสถานที่ควรแก่การสักการะบูชา เช่น ศาสนสถาน วัด โบสถ์ หรือสถานที่ราชการ สถานศึกษา ฯลฯ ซึ่งถือว่าไม่สุภาพเรียบร้อย
การแต่งกายถูกต้องตามกาลเทศะ การแต่งกายนอกจากจะสะอาดและมีความสุภาพเรียบร้อยแล้ว ควรให้เหมาะสมกับสมัยนิยมและให้เหมาะกับสถานที่ที่จะไปด้วย การแต่งกายที่ผิดสมัยนิยมนั้นหากสะอาดและสุภาพเรียบร้อยก็ไม่น่าจะมีอะไรเสียหายมาก แต่คนอาจมองว่าเชยเท่านั้น ดังนั้นการแต่งกายให้ถูกกาลเทศะนั้นเป็นเรื่องสำคัญ จึงควรระวังแต่งกายให้ถูกกาลเทศะ ดังนี้
ควรแต่งกายให้เหมาะสมกับงานที่จะไป เช่น ไม่แต่งชุดดำไปงานแต่งงาน ไม่แต่งสีฉูดฉาดไปงานศพ เป็นต้น แต่งกายให้เกียรติเจ้าภาพของงานตามสมควร เช่น ไปงานเลี้ยงสังสรรค์ระหว่างเพื่อนฝูงจะแต่งลำลองอย่างไรก็ได้ แต่ถ้าไปงานแต่งงานที่จัดหรูหราเป็นพิธีรีตรอง จะสวมใส่เสื้อยืดกางเกงยีนส์ไปคงไม่เหมาะสม เพราะถือว่าไม่ให้เกียรติเจ้าภาพ แต่ถ้าเรามีเงินน้อย ไม่มีชุดสากลหรือชุดพระราชทาน จะใส่กางเกงและเสื้อธรรมดาไปก็ได้ ข้อสำคัญคือต้องสะอาดและสุภาพเรียบร้อย
การแต่งกายอย่างหนึ่งอาจเหมาะสมกับที่หนึ่ง แต่ไม่เหมาะสมกับอีกที่หนึ่ง เช่น ใส่ชุดว่ายน้ำอยู่ที่ชายหาดหรือริมสระว่ายน้ำ ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเดินไปในที่ห่างจากชาดหาดและสระมาก ๆ ก็ดูไม่เหมาะสม หรือการสวมรองเท้าแตะที่บ้าน หรือเดินเล่นนอกบ้านก็ไม่เป็นไร แต่จะใส่ไปโรงเรียนหรือไปทำงานบางอย่างก็ถือว่าเป็นการไม่เหมาะสม เป็นต้น ความสะอาดและความสุภาพเรียบร้อยสำคัญที่สุด เพราะคนเรานั้นต่างจิตต่างใจกัน คนหนึ่งว่าเหมาะอีกคนว่าไม่เหมาะ ดังนั้นถ้ามีปัญหาก็ให้ยึดหลักความสะอาดและสุภาพไว้ก่อน ซึ่งใช้ได้ทุกกรณี อันที่จริงการแต่งกายสะอาดและสุภาพแล้วก็ไม่ต้องกังวลกับเรื่องอื่นจนเกินไป
ดังนั้น มารยาทการแต่งกายที่พึงประสงค์ จึงไม่ได้หมายถึง การแต่งกายตามแฟชั่น แต่เป็นการแต่งกายที่จะต้องคำนึงถึงความสุภาพเรียบร้อย สะอาด ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า เมื่อมีผู้พบเห็นจะรู้สึกทันทีว่าผู้ที่แต่งกายดีถูกต้องตามกาลเทศะ คือ คนที่ควรได้รับการชมเชย จากสังคมและผู้ปฏิสัมพันธ์ด้วย ในมุมกลับกันหากแต่งกายไม่สุภาพเรียบร้อย ก็จะเกิดคำตำหนิ ติเตียน จากผู้ที่พบเห็น ทำให้เสื่อมเสียทั้งตนเอง สถานบันครอบครัว และสถานศึกษา ดังตัวอย่างการแต่งกายที่ไม่เหมาะสมดั่งที่เป็นข่าว จึงขอฝากข้อควรคำนึงถึงการแสดงมารยาทที่พึงประสงค์ต่อสถานที่อันควรเคารพสักการะ ได้แก่ แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย ถอดหมวก ถอดรองเท้า ลดร่มลง ไม่แสดงอาการเหยียดหยามหรือพูดคำหยาบ ไม่ส่งเสียงเอะอะอื้ออึง และทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่น ไม่กล่าวคำทำนองว่าไม่เชื่อหรือไม่ศรัทธาต่อสถานศักดิ์สิทธิ์นั้น ทำใจเป็นกลาง ไม่คิดแต่จะจับผิด เนื่องจากถือว่าเป็นสถานที่ที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาที่ตนนับถือ ปฏิบัติตามธรรมเนียมที่เขาปฏิบัติกัน ยกเว้นธรรมเนียมนั้นจะขัดกับศรัทธาของตนหรือขัดกับหลักคำสอนของศาสนาที่ตนนับถือ คำนึงอยู่เสมอว่าสถานศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาใด ศาสนิกชนในศาสนานั้นก็เคารพสักการะ อย่าแสดงอะไรที่เป็นการทำลายน้ำใจกัน 


1. เมื่อได้รับเชิญไปรับประทานอาหารในงานพิธีใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานแบบไทยแบบฝรั่งย่อมใช้มารยาทสุภาพเช่นเดียวกันถ้าเป็นการรับประทานแบบนั่งเก้าอี้ก็ต้องนั่งตัวตรงเรียบร้อยแลใช้เครื่องใช้ในการรับประทานอาหารที่เป็นส่วนของตน เช่น จาน ชาม ช้อน ส้อม มีด จานแบ่ง ผ้าเช็ดมือ ถ้วยน้ำแลถ้วยเหล้า ถ้าเป็นอาหาร ไทยต้องใช้ช้อนกลางตักอาหารที่เป็นของกลาง ไม่ใช้เครื่องมือของตนเองตักอาหารซึ่งเป็นของกลาง

2. เวลารับประทานอาหารต้องรับประทานโดยระมัดระวัง ไม่ทำให้เลอะเทอะมูมมาม ควรหุบปากเวลาเคี้ยวอาหารเพื่อระวังมิให้มีเสียงดัง

3. ไม่ใช้มือของตนเองแตะต้องหรือหยิบอาหารที่ผู้อื่นจะบริโภค หรืออาหารที่เป็นของกลาง

4. ในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่นต้องรอให้ผู้มีอาวุโสกว่านั่งก่อนจึงนั่ง แลผู้อาวุโสเริ่มรับประทานก่อนจึงรับประทาน

5. ถ้านั่งเก้าอี้ควรนั่งตัวตรง ไม่ท้าวศอกบนโต๊ะอาหารถ้านั่งกับพื้นควรนั่งพับเพียบเรียบร้อยแลตั้งตัวตรงไม่ท้าวแขน

6. การใช้ผ้าเช็ดมือ เมื่อเข้านั่งโต๊ะอาหารก่อนจะรับประทานควรหยิบผ้าเช็ดมือปูที่ตัก ก่อนดื่มควรใช้ผ้าเช็ดมือเช็ดปากก่อนทุกครั้งเพื่อมิให้แก้วเป็นคราบ ดื่มเสร็จแล้วเช็ดอีกครั้ง

7. ถือช้อนด้วยมือขวาแลส้อมด้วยมือซ้ายในเวลารับประทานอาหารแบบไทย

8. การซดน้ำซุบหรือน้ำแกง ย่อมซดจากข้างช้อนแลซดอย่างเงียบอย่าให้มีเสียงดัง

9. การใช้มีด มีไว้สำหรับตัดอาหาร จะนำไปจิ้มอาหารเข้าปากไม่ได้ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ผู้ใดใช้มีดส่งอาหารเข้าปากผู้นั้นเสียมารยาทอย่างมาก

10. ในการรับประทานอาหารน้ำชาหรือกาแฟ ช้อนกาแฟหรือช้อนชามีไว้สำหรับใช้คนเท่านั้นเมื่อคนเสร็จแล้วต้องว่างไว้ในจานรองถ้วยอย่าคาช้อนไว้ในถ้วย แลอย่าซดจากช้อนเป็นอันขาด

11. การรับประทานอาหารแบบไทยหรือแบบพึ่งตัวเอง เรารับประทานด้วยมองของเราเอง ก่อนรับประทานต้องล้างมือให้สะอาด ใช้ผ้าสะอาดปูลาดบนพื้นบ้าน ผู้ที่จะรับประทานนั่งลงล้อมวงกันตักข้าวใส่จานก้นตื้นให้ครับคนลงมือตักข้าวกับใส่จานด้วยช้อนกลาง ใช้มือขาวขยุ้มของที่ตักมากับข้าวในจานให้เป็นก้อนให้พอดีกับปากของตัว ใช้นิ้วหัวแม่มือผลักก้อนข้าว
ให้เข้าไปอยู่ในปาก ต้องระวังอย่าให้ร่วงหล่นออกจากปากจะเป็นการเสียมารยาท

12. การรับประทานอาหารชนิดช่วยตัวเองหรือบุ๊ฟเฟ่ท์ โดยมากจัดสำหรับเมื่อมีแขกมาก ๆ คือเจ้าของบ้านจะวางอาหารพร้อมทั้งคาวหวานแยกกันไว้เป็นหมู่ จัดอย่างสวยงามทั้งคาวหวาน แล้วเชิญแขกที่รับเชิญไปแบ่งรับประทานเองตามใจชอบ

13. ผู้รับเชิญจะเดินไปหยิบเครื่องมือสำหรับรับประทานก่อน เช่น จาน ชาม ส้อม ช้อน มีด และอื่น ๆ 

14. เมื่อมีเครื่องอุปกรณ์พร้อมแล้วจึงเดินเลือกอาหารตามใจชอบ

15. เราควรจะรู้จักกระเพาะอาหารของเราให้ดีว่าจะบรรจุอาหารนักเท่าใด แล้วแบ่งให้พอดีกับความต้องการของตน อย่าโลภตักแบ่งไปจนรับประทานไม่หมด และอย่าแบ่งโดยคุ้ยเขี่ยทำลายความสวยงามที่เขาตบแต่งอาหารไว้

16. เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้วก็วางไว้ที่ใดที่หนึ่งที่เหมาะแก่จานชามที่ใช้แล้ว หรือส่งให้คนรับใช้ที่เดินเก็บจานชามที่แขกรับประทานเสร็จแล้วก็ได้
มารยาทในการรับประทานอาหาร


1. เมื่อได้รับเชิญไปรับประทานอาหารในงานพิธีใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานแบบไทยแบบฝรั่งย่อมใช้มารยาทสุภาพเช่นเดียวกันถ้าเป็นการรับประทานแบบนั่งเก้าอี้ก็ต้องนั่งตัวตรงเรียบร้อยแลใช้เครื่องใช้ในการรับประทานอาหารที่เป็นส่วนของตน เช่น จาน ชาม ช้อน ส้อม มีด จานแบ่ง ผ้าเช็ดมือ ถ้วยน้ำแลถ้วยเหล้า ถ้าเป็นอาหาร ไทยต้องใช้ช้อนกลางตักอาหารที่เป็นของกลาง ไม่ใช้เครื่องมือของตนเองตักอาหารซึ่งเป็นของกลาง

2. เวลารับประทานอาหารต้องรับประทานโดยระมัดระวัง ไม่ทำให้เลอะเทอะมูมมาม ควรหุบปากเวลาเคี้ยวอาหารเพื่อระวังมิให้มีเสียงดัง


3. ไม่ใช้มือของตนเองแตะต้องหรือหยิบอาหารที่ผู้อื่นจะบริโภค หรืออาหารที่เป็นของกลาง


4. ในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่นต้องรอให้ผู้มีอาวุโสกว่านั่งก่อนจึงนั่ง แลผู้อาวุโสเริ่มรับประทานก่อนจึงรับประทาน


5. ถ้านั่งเก้าอี้ควรนั่งตัวตรง ไม่ท้าวศอกบนโต๊ะอาหารถ้านั่งกับพื้นควรนั่งพับเพียบเรียบร้อยแลตั้งตัวตรงไม่ท้าวแขน


6. การใช้ผ้าเช็ดมือ เมื่อเข้านั่งโต๊ะอาหารก่อนจะรับประทานควรหยิบผ้าเช็ดมือปูที่ตัก ก่อนดื่มควรใช้ผ้าเช็ดมือเช็ดปากก่อนทุกครั้งเพื่อมิให้แก้วเป็นคราบ ดื่มเสร็จแล้วเช็ดอีกครั้ง


7. ถือช้อนด้วยมือขวาแลส้อมด้วยมือซ้ายในเวลารับประทานอาหารแบบไทย


8. การซดน้ำซุบหรือน้ำแกง ย่อมซดจากข้างช้อนแลซดอย่างเงียบอย่าให้มีเสียงดัง


9. การใช้มีด มีไว้สำหรับตัดอาหาร จะนำไปจิ้มอาหารเข้าปากไม่ได้ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ผู้ใดใช้มีดส่งอาหารเข้าปากผู้นั้นเสียมารยาทอย่างมาก


10. ในการรับประทานอาหารน้ำชาหรือกาแฟ ช้อนกาแฟหรือช้อนชามีไว้สำหรับใช้คนเท่านั้นเมื่อคนเสร็จแล้วต้องว่างไว้ในจานรองถ้วยอย่าคาช้อนไว้ในถ้วย แลอย่าซดจากช้อนเป็นอันขาด


11. การรับประทานอาหารแบบไทยหรือแบบพึ่งตัวเอง เรารับประทานด้วยมองของเราเอง ก่อนรับประทานต้องล้างมือให้สะอาด ใช้ผ้าสะอาดปูลาดบนพื้นบ้าน ผู้ที่จะรับประทานนั่งลงล้อมวงกันตักข้าวใส่จานก้นตื้นให้ครับคนลงมือตักข้าวกับใส่จานด้วยช้อนกลาง ใช้มือขาวขยุ้มของที่ตักมากับข้าวในจานให้เป็นก้อนให้พอดีกับปากของตัว ใช้นิ้วหัวแม่มือผลักก้อนข้าว

ให้เข้าไปอยู่ในปาก ต้องระวังอย่าให้ร่วงหล่นออกจากปากจะเป็นการเสียมารยาท

12. การรับประทานอาหารชนิดช่วยตัวเองหรือบุ๊ฟเฟ่ท์ โดยมากจัดสำหรับเมื่อมีแขกมาก ๆ คือเจ้าของบ้านจะวางอาหารพร้อมทั้งคาวหวานแยกกันไว้เป็นหมู่ จัดอย่างสวยงามทั้งคาวหวาน แล้วเชิญแขกที่รับเชิญไปแบ่งรับประทานเองตามใจชอบ


13. ผู้รับเชิญจะเดินไปหยิบเครื่องมือสำหรับรับประทานก่อน เช่น จาน ชาม ส้อม ช้อน มีด และอื่น ๆ 


14. เมื่อมีเครื่องอุปกรณ์พร้อมแล้วจึงเดินเลือกอาหารตามใจชอบ


15. เราควรจะรู้จักกระเพาะอาหารของเราให้ดีว่าจะบรรจุอาหารนักเท่าใด แล้วแบ่งให้พอดีกับความต้องการของตน อย่าโลภตักแบ่งไปจนรับประทานไม่หมด และอย่าแบ่งโดยคุ้ยเขี่ยทำลายความสวยงามที่เขาตบแต่งอาหารไว้


16. เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้วก็วางไว้ที่ใดที่หนึ่งที่เหมาะแก่จานชามที่ใช้แล้ว หรือส่งให้คนรับใช้ที่เดินเก็บจานชามที่แขกรับประทานเสร็จแล้วก็ได้
มารยาทในการอยู่ร่วมกันในสังคม

ไปลามาไหว้ มารยาทไทยที่เป็นวัฒนธรรมการทักทายเวลาพบปะกันหรือลาจากกัน การไหว้ เป็นการแสดงถึงความมีสัมมาคารวะและการให้เกียรติซึ่งกันและกัน นอกเหนือจากการกล่าวคำว่า สวัสดี แล้วยังแสดงออกถึงความหมาย การขอบคุณ และ การขอโทษ การไหว้เป็นการแสดงมิตรภาพ มิตรไมตรี ที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ซึ่งนับวันจะค่อย ๆ เลือนลางออกไปจากสังคมไทย ด้วยเยาวชนไทยส่วนใหญ่รับเอาวัฒนธรรมต่างชาติมายึดถือปฏิบัติ เช่น การทักทายกันด้วย การจับมือ ด้วยการผงกหัวหรือพยักหน้าต้อนรับกัน โดยปกติความอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นวัฒนธรรมไทยที่แสดงความเคารพด้วยการไหว้ผู้อาวุโส หรือการรับไหว้ผู้อาวุโสน้อย ปัจจุบันกลายเป็นวัฒนธรรมที่เกิดเฉพาะกลุ่ม แทนที่จะเป็นวัฒนธรรมในสังคมของคนทุกชนชั้น
ด้วยสาเหตุที่เยาวชนไทยมองข้ามวัฒนธรรมไทยที่ดีงามถูกต้อง มารยาทในสังคมไทยจึงผิดเพี้ยนไป สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้จัดการเผยแพร่ความรู้เรื่องมารยาทไทยอย่างต่อเนื่อง และได้หยิบยกมารยาทในการพบปะสมาคมในสังคมที่สำคัญมีดังนี้
๑. การรู้จักวางตน ต้องเป็นคนมีความอดทน มีความสงบเสงี่ยม ไม่แสดงกิริยาก้าวร้าว อวดรู้ อวดฉลาด อวดมั่งมี และไม่ควรตีตัวเสมอผู้ใหญ่ แม้ว่าจะสนิทสนมหรือคุ้นเคยกันสักปานใดก็ตาม
๒. การรู้จักประมาณตน มีธรรมของคนดี ๗ ได้แก่ รู้จัก เหตุผล ตน ประมาณ กาล ชุมชน และบุคคล โดยไม่ทำตัวเองให้เด่น เรียกร้องให้คนอื่นสนใจ หรือสร้างจุดสนใจในตัวเรามากเกินไป ตัวอย่าง คำเตือนของหลวงวิจิตรวาทการที่กล่าวไว้ว่า จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย ไม่มีใครเขาอยากเห็นเราเด่นเกิน
๓. การรู้จักการพูดจา ต้องไม่ทักทายปราศรัยกับคนด้วยคำพูดที่จะทำให้คนเขาเกิดความอับอายในสังคม และ ไม่คุยเสียงดังหรือยักคิ้วหลิ่วตาทำท่าทางประกอบจนทำให้เสียบุคลิกภาพได้
๔. การรู้จักควบคุมอารมณ์ คือ รู้จักข่มจิตของตน ไม่ใช่อารมณ์รุนแรงเพื่อไม่ให้ล่วงสิ่งที่ไม่ควรล่วง ได้แก่ การข่มราคะ โทสะ โมหะ ไม่ให้กำเริบเป็นคุณลักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ รู้จักข่มอารมณ์ต่าง ๆ ไม่ทำลายข้าวของ ไม่พูด และแสดงกิริยาประชดประชัน หรือส่อเสียด
๕. การสำรวมกิริยาเมื่อเดินผ่านผู้ใหญ่ ขณะที่เดินผ่านผู้ใหญ่ให้ก้มตัวพองาม หรือหากผู้ใหญ่กำลังเดินไม่ควรวิ่งตัดหน้า ควรหยุดให้ผู้ใหญ่เดินไปก่อน หรือไม่ควรเดินผ่านกลางขณะที่ผู้ใหญ่กำลังพูดกัน
๖. การรู้จักควบคุมอิริยาบถ ถือเป็นคุณสมบัติที่ดี เช่น เมื่อเราได้ยินเสียงเพลงก็ไม่ควรเขย่าตัว กระดิกเท้า หรือเคาะจังหวะโดยไม่เลือกสถานที่ ซึ่งการกระทำดังกล่าวนี้ ถือว่าเป็นอาการของคนที่ไม่ควบคุมอิริยาบถ และไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ
๗. ความมีน้ำใจไมตรีอันดีต่อกัน การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขด้วยความรักและเข้าใจกัน ควรมีความเอื้ออาทร มีน้ำใจไมตรีต่อกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน มีความเห็นอกเห็นใจ เอาใจใส่ ทุกข์สุขของผู้เกี่ยวข้องมุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน ที่สำคัญคือมีน้ำใจในการช่วยเหลือ หรือช่วยทำประโยชน์ให้แก่สังคม
๘. การช่วยเหลือผู้อื่น เป็นคุณธรรมชั้นสูงของการอยู่ร่วมกันในสังคม ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์มีอุดมการณ์สำคัญคือ การช่วยเหลือผู้อื่น พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเป็นปัจฉิมโอวาท ความว่า จงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นด้วยความไม่ประมาทเถิด การยังประโยชน์แก่ผู้อื่น ก็คือ การช่วยเหลือผู้อื่น หรือการปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เพื่อประโยชน์ส่วนรวม สังคมจะมีสันติสุข คือ มีความสงบสุข ถ้าบุคคลในสังคมรู้จักการช่วยเหลือผู้อื่น มีความเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
ลักษณะการแสดงความเคารพด้วยการไหว้ ที่เป็นมารยาทในสังคมที่ควรปฏิบัติกัน คือ
การประนมมือ (อัญชลี) เป็นการแสดงความเคารพ โดยการประนมมือให้นิ้วมือทั้งสองข้างชิดกัน ฝ่ามือทั้งสองประกบเสมอกันแนบหว่างอก ปลายนิ้วเฉียงขึ้นพอประมาณ แขนแนบตัวไม่กางศอก ทั้งชายและหญิงปฏิบัติเหมือนกัน การประนมมือนี้ ใช้ในการสวดมนต์ ฟังพระสวดมนต์ ฟังพระธรรมเทศนา ขณะสนทนากับพระสงฆ์ รับพรจากผู้ใหญ่ แสดงความเคารพผู้เสมอกัน และรับความเคารพจากผู้อ่อนอาวุโสกว่า เป็นต้น
การไหว้ (วันทนา) เป็นการแสดงความเคารพ โดยการประนมมือ แล้วยกมือทั้งสองขึ้นจรดใบหน้าให้เห็นว่า เป็นการแสดงความเคารพอย่างสูง การไหว้แบบไทย แบ่งออกเป็น ๓ แบบ ตามระดับของบุคคล
-
ระดับที่ ๑ การไหว้พระ ได้แก่ การไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รวมทั้งปูชนียวัตถุ ปูชนียสถาน ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในกรณีที่ไม่สามารถกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ได้ โดยประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วแนบส่วนบนของหน้าผาก
-
ระดับที่ ๒ การไหว้ผู้มีพระคุณและผู้อาวุโส ได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ครู อาจารย์ และผู้ที่เราเคารพนับถือ โดยประนมมือ แล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลง ให้หัวแม่มือจรดปลายจมูก ปลายนิ้วแนบระหว่างคิ้ว
-
ระดับที่ ๓ การไหว้บุคคลทั่ว ๆ ไป ที่เคารพนับถือหรือผู้มีอาวุโสสูงกว่าเล็กน้อย โดยประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดปลายคาง ปลายนิ้วแนบปลายจมูก
อนึ่ง สำหรับหญิงการไหว้ทั้ง ๓ ระดับ อาจจะถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งตามถนัดไปข้างหลังครึ่งก้าว แล้วย่อเข่าลงพอสมควรพร้อมกับยกมือขึ้นไหว้ก็ได้
โดยปกติวัฒนธรรมการไหว้เป็นวิถีชีวิต ที่ถูกปลูกฝังให้รู้จักกาลเทศะ รู้จักการเคารพผู้อาวุโส กตัญญูรู้บุญคุณ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การมีมารยาทในสังคมดังกล่าวข้างต้น โดยเฉพาะในเรื่องการเคารพผู้อาวุโส ต้องมีความอ่อนน้อมถ่อมตน การแสดงความเคารพในโอกาสต่าง ๆ การรู้จักจัดลำดับการวางตนที่ถูกต้องตามประเพณีที่วางเอาไว้ ทำให้เกิดความสงบสุขในสังคม เพราะการปฏิบัติขัดกับประเพณีที่วางไว้ จะทำให้เกิดความขัดแย้ง ขัดเคืองความรู้สึกซึ่งกันและกัน การมีกฎเกณฑ์มารยาทในสังคมเป็นบรรทัดฐานให้บุคคลดำเนินชีวิตได้อย่างสันติสุข 


มารยาทในการฟัง

๑.ฟังด้ายความสงบ
๒.ฟังด้วยความตั้งใจ
๓.ปรบมือเมื่อชอบใจ
๔.มองหน้าผู้พูด
๕.เมือมีขอสงสัยควรถาม เมื่อผู้พูดเปิดโอกาสให้ถาม ไม่ควรถามแทรกขณะที่ผู้พูดกำลังพูดอยู่
๖.ไม่สงเสียงรบกานผู้อื่น
๗.ไม่ควรแสดงท่าทางไม่พอใจเมื่อไม่ชอบใจ
๘.ตั้งใจฟังตังแต่ต้นจนจบ
๙.ไม่ควรแสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสม เช่น โฮร้อง

๑๐.ไม่ควรเดินเข้าเดินออกขณะที่ผู้พูดกำลังพูดหากมีความจำเป็นควรทำความเข้ารพก่อน
มารยาทในการพูด


การพูดมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์เป็นอันมากไม่ว่าจะอยู่ที่ใดประกอบกับกิจการงานใดหรือคบหา สมาคมกับผู้ใด ผู้ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจการงาน การคบหาสมาคมกับผู้อื่นตลอดจนการทำประโยชน์แก่สังคม ล้วนแต่เป็นผู้ที่มีประสิทธิภาพในการพูดทั้งสิ้น
การพูดมีความสำคัญต่อตนเอง เพราะถ้าผู้พูดมีศิลปะในการพูดก็จะเป็นคุณแก่ตนเอง ส่วนในด้านสังคมนั้น เนื่องจากเราต้องคบหาสมาคมและพึ่งพาอาศัยกัน การที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขนั้นจำเป็นต้องเป็นคนที่ พูดดีคือพูดไพเราะ น่าฟัง และพูดถูกต้องด้วย
มารยาทในการพูด
     การพูดของคนเราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีหลักเกณฑ์ รู้จักกาลเวลา และที่สำคัญต้องคำนึงถึงมารยาทที่ดีในการพูดด้วย มารยาทในการพูดแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
     1. มารยาทในการพูดระหว่างบุคคล
     2. มารยาทในการพูดในที่สาธารณะ
มารยาทในการพูดระหว่างบุคคล มีดังนี้
     1. เรื่องที่พูดควรเป็นเรื่องที่ทั้ง 2 ฝ่าย มีความสนใจและพอใจร่วมกัน
     2. ไม่พูดเรื่องของตนเองมากจนเกินไป ควรฟังในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งพูด ไม่สอดแทรกเมื่อเขาพูดยังไม่จบ
     3. พูดตรงประเด็น อาจออกนอกเรื่องบ้างพอผ่อนคลายอารมณ์
     4. เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่บังคับให้ผู้อื่นเชื่อหรือคิดเหมือนตน
มารยาทในการพูดในที่สาธารณะ
     การพูดในที่สาธารณะต้องรักษามารยาทให้มากกว่าการพูดระหว่างบุคคล เพราะการพูดในที่สาธารณะนั้น ย่อมมีผู้ฟังซึ่งมาจากที่ต่าง ๆ กัน มีวัยวุฒิ คุณวุฒิ และพื้นฐานความรู้ ความสนใจและรสนิยมต่างกันไป มารยาทในการพูดระหว่างบุคคลอาจนำมาใช้ได้และควรปฏิบัติเพิ่มเติมดังนี้
     1. แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยเหมาะแก่โอกาสและสถานที่
     2. มาถึงสถานที่พูดให้ตรงเวลาหรือก่อนเวลาเล็กน้อย
     3. ก่อนพูดควรแสดงความเคารพต่อผู้ฟังตามธรรมเนียมนิยม
     4. ไม่แสดงกิริยาอาการอันไม่สมควรต่อหน้าที่ประชุม
     5. ใช้คำพูดที่ให้เกียรติแก่ผู้ฟังเสมอ
     6. ไม่พูดพาดพิงถึงเรื่องส่วนตัวของบุคคลอื่นในที่ประชุม
     7. ไม่พูดหยาบโลนหรือตลกคะนอง
     8. พูดให้ดังพอได้ยินทั่วกันและไม่พูดเกินเวลาที่กำหนด
     การสื่อสารด้วยการพูดไม่ว่าจะเป็นการพูดกับคนเพียงคนเดียวหรือพูดกับคนจำนวนมาก จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้พูดทุกคนต้องมีมารยาท ถ้าขาดหรือละเลยต่อมารยาทในการพูด แล้วอาจทำให้การพูดประสบความล้มเหลว หรือไม่ประสบความสำเร็จได้
ข้อควรคำนึงในการสื่อสารด้วยการพูด
     การพูดจะสัมฤทธิผลหรือไม่เพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับการที่ผู้พูดได้วิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญในการพูดให้ถ่องแท้หรือไม่ มีการเตรียมพร้อมเพียงใดก่อนที่จะพูด ฉะนั้นการพูดจึงมีข้อควรคำนึงดังนี้
การพูดให้เหมาะสมกับบุคคล
     ต้องวิเคราะห์ในเรื่องต่อไปนี้ คือ วัย เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ ความสนใจพิเศษเพื่อเตรียมเรื่องที่จะพูดได้อย่างเหมาะสม
การพูดให้เหมาะกับกาลเทศะ
     ควรพิจารณาว่าจะพูดในโอกาสใด การพูดนั้นเป็นทางการมากน้อยแค่ไหน
การพูดให้ผู้อื่นเข้าใจตรงตามความประสงค์
     ควรใช้ภาษาบ่งบอกความต้องการหรือความมุ่งหมายให้ชัดเจน หลีกเลี่ยงการตีความหลายแง่หลายมุม
การพูดสรุปใจความสำคัญจากเรื่องที่ฟังหรืออ่าน
     เป็นการพัฒนาการใช้ภาษาให้สัมพันธ์กันทุกด้าน และอาศัยความสามารถในการสรุปความจากเรื่องที่ฟังหรืออ่านได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะช่วยให้ผู้รับสารเข้าใจเจตนาของผู้ส่งสารได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว
การพูดแสดงความคิดเห็น
     เป็นการใช้ทักษะ การฟัง การอ่าน การพูด และการคิดให้สัมพันธ์กัน ต้องอาศัยการฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ เพราะการพูดแสดงความคิดเห็นผู้พูดต้องใช้ทั้งความรู้ ความคิด เหตุผลหรือหลักการต่าง ๆ หลายอย่างประกอบกัน ความคิดเห็นจึงจะมีคุณค่าน่าเชื่อถือ


วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เดือนรอมฎอน



شهر رمضان
เดือนรอมฎอน
ramadom 4

เขียนโดย อ.ยูซุฟ นภากร
เดือนรอมฎอน เป็นเดือนที่ 9 ตามการนับเดือนของอาหรับ ซึ่งนับตามระบบจันทรคติ  อิสลามให้ความสำคัญกับเดือนรอมฎอน และถือว่าเป็นเดือนที่มีความประเสริฐมากกว่าเดือนอื่นๆ เนื่องจากเป็นเดือนที่อัลกุรอานถูกประทานลงมา และในเดือนรอมฎอนอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงกำหนดให้มุสลิม ถือศีล-อดด้วย
อัลลอฮฺ (ซ.บ.)  กล่าวว่า
2_185 copy
เดือนรอมฎอนคือเดือนที่อัลกุรอานถูกประทานลงมา เพื่อเป็นสิ่งนำทางสำหรับมนุษย์ และเป็นเครื่องแบ่งแยกความถูกผิด ดังนั้น ผู้ใดที่เข้าสู่เดือนรอมฎอน ให้เขาถือศีล-อด      (อัลบะกอเราะฮ์ / 185)
รู้ได้อย่างไรว่าเข้าสู่เดือนรอมฎอนแล้ว ?
       ในแนวทางของอิสลาม กำหนดให้ 1 เดือนมี 29 วัน และกำหนดให้การเห็นเดือนเสี้ยวเมื่อครบ 29 วันแล้ว เป็นการเริ่มต้นเดือนใหม่ หากไม่เห็นเดือนเสี้ยวก็ให้นับต่อจนครบ 30 วัน แล้วจึงขึ้นเดือนใหม่ ดังนั้นแต่ละเดือนจึงมี 29 หรือ 30 วัน   เดือนรอมฎอนก็เช่นกัน จะเข้าสู่เดือนรอมฎอนเมื่อมีผู้เห็นเดือนเสี้ยว หากไม่เห็นก็จะนับเดือนชะบานให้ครบ 30 วัน
       ท่านนบี (ซ.ล.) กล่าวว่า
قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : الشَّهْرُ تِسْعٌ وَعِشْرُونَ فَإِذَا رَأَيْتُمْ الْهِلاَلَ فَصُومُوا وَإِذَا رَأَيْتُمُوهُ فَأَفْطِرُوا فَإِنْ غُمَّ عَلَيْكُمْ فَاقْدِرُوا لَهُ    مسلم
 หนึ่งเดือนมี 29 วัน เมื่อพวกท่านเห็นเดือนเสี้ยว ก็ให้เริ่มถือศีล-อด และเมื่อเห็นเดือนเสี้ยว ก็ให้ยุติการถือศีล-อด หากมีสิ่งบดบังมองไม่เห็นเดือนเสี้ยว ก็ให้นับให้ครบ 30 วัน"     (ฮะดิษมุสลิม)
       ดังนั้น เมื่อใดที่แน่ชัดว่าเข้าสู่เดือนรอมฎอนแล้ว ก็จำเป็นต้องเริ่มต้นการถือศีล-อด
หลักเกณฑ์เรื่องการเห็นเดือน
       1.  ต้องมีการดูเดือน เพราะการถือศีล-อดจะเริ่มต้นหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการเห็นเดือน  ท่านนบี (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า
صُوْمُوْا لِرُؤْيَتِهِ وَأَفْطِرُوْا لِرُؤْيَتِهِ ... [الحديث]
ท่านทั้งหลายจงถือศีล-อด เนื่องจากการเห็นเดือนเสี้ยว และยุติการถือศีล-อดก็เนื่องจากการเห็นเดือนเสี้ยว  (อัลฮะดิษ)
       2.  ไม่จำเป็นต้องเห็นเดือนด้วยตาของตนเองทุกคน สามารถรับข่าวการเห็นของผู้อื่นที่มั่นใจและตรวจสอบได้ว่าถูกต้อง  ตามที่ปรากฏในฮะดิษ ดังนี้
عَن ابْنِ عُمَرَ رَضِيَ الله ُعَنْهُمَا قَالَ : تَرَاءَى النَّاسُ الْهِلاَلَ ، فَأَخْبَرْتُ رَسُوْلَ اللهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَنِّي رَأَيْتُهُ ، فَصَامَ  وَأَمَرَ النَّاسَ بِصِيَامِهِ .  أبوداود
มีรายงานจากอิบนิอุมัร กล่าวว่า มีคนเห็นเดือนเสี้ยว แล้วฉันได้บอกข่าวนี้กับท่านร่อซู้ล (ซ.ล.) ว่าฉันได้เห็นเดือนเสี้ยวแล้ว ท่านก็ได้เริ่มถือศีล-อด แล้วสั่งให้ผู้คนถือศีล-อดด้วย    (ฮะดิษอบูดาวุด)
       จากฮะดิษบทนี้แสดงให้เห็นว่า ท่านนบี (ซ.ล.) ยอมรับข่าวการเห็นเดือน และปฏิบัติตามข่าวนี้ด้วยการถือศีล-อด พร้อมสั่งให้ผู้คนปฏิบัติด้วย
3.  หากไม่มีการเห็นเดือน ให้นับวันของเดือนนั้นต่อไปให้ครบ 30 วัน  ดังปรากฏในฮะดิษ ท่านนบี (ซ.ล.) กล่าวว่า
قال رسول الله صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : ... فَإِنْ غُبِّيَ عَلَيْكُمْ فَأَكْمِلُوا عِدَّةَ شَعْبَانَ ثَلاَثِينَ .[ البخاري ]
 หากมีสิ่งบดบังทำให้ไม่เห็นเดือน ให้นับจำนวนวันของเดือนชะบานให้ครบ 30 วัน      (ฮะดิษบุคอรี)
[1] การยอมรับข่าวการเห็นเดือนเสี้ยวของท่านนบี (ซ.ล.) นั้น ท่านไม่ได้ถามถึงเรื่องระยะทาง, ความใกล้ไกลเพื่อเอามาเป็นเงื่อนไขว่าจะรับข่าวนั้นหรือไม่ ถ้าหากว่ารับข่าวจากคนไกลที่อยู่คนละดินแดนไม่ได้ ท่านนบี (ซ.ล.) จะต้องชี้แจงไว้ให้ทราบ เพราะเป็นหน้าที่ของท่านที่จะต้องบอกกล่าวชี้แจงโดยเฉพาะในเรื่องที่สำคัญ เช่น เรื่องการทำอิบาดะฮฺ จากความเข้าใจนี้จึงตรงกับความเห็นของนักวิการการส่วนใหญ่ (  الجمهور )  ที่เห็นตรงกันว่า สามารถรับข่าวการเห็นเดือนได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าเป็นคนละประเทศกัน
الصـيام
การถือศีล-อด 
       การถือศีล-อด  หมายถึง  การงดจากการกิน , การดื่ม  และงดสิ่งต่างๆ ตามที่อิสลามกำหนด ในช่วงเวลาตั้งแต่แสงอรุณขึ้น จนถึงดวงอาทิตย์ตก
ความประเสริฐของการถือศีล-อด
       มีหลักฐานจากฮะดิษของท่านนบี (ซ.ล.)  ยืนยันเรื่องความประเสริฐของการถือศีล-อด  ดังนี้
[ 1 ] قَالَ رسول الله صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : إِنَّ فِي الْجَنَّةِ بَابًا يُقَالُ لَهُ الرَّيَّانُ يَدْخُلُ مِنْهُ الصَّائِمُونَ يَوْمَ الْقِيَامَةِ لاَ يَدْخُلُ مِنْهُ أَحَدٌ غَيْرُهُمْ يُقَالُ أَيْنَ الصَّائِمُونَ فَيَقُومُونَ لاَ يَدْخُلُ مِنْهُ أَحَدٌ غَيْرُهُمْ فَإِذَا دَخَلُوا أُغْلِقَ فَلَمْ يَدْخُلْ مِنْهُ أَحَدٌ .   [ البخاري ]
       1.  ท่านนบี (ซ.ล.) กล่าวว่า  “แท้จริง สำหรับสวรรค์นั้นจะมีประตูทางเข้าอยู่ทางหนึ่งที่มีชื่อว่า  “อัรรอยยาน”  ในวันกิยามะห์ผู้ที่จะได้เข้าประตูนี้คือ ผู้ถือศีล-อด จะไม่มีผู้อื่นได้เข้า โดยจะมีการเรียกหาว่า  “บรรดาผู้ถือศีล-อด อยู่ที่ไหน?  พวกเขาก็จะ แสดง ตัวออกมา แล้วเมื่อพวกเขาได้เข้าประตูนี้ไปแล้ว ประตูนี้ก็จะปิดไม่ให้ผู้อื่นได้เข้าไปอีก”    (ฮะดิษบุคอรี)
[ 2 ] عَنْ أَبِي أُمَامَةَ قَالَ أَتَيْتُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَقُلْتُ مُرْنِي بِعَمَلٍ يُدْخِلُنِي الْجَنَّةَ ؟ قَالَ : عَلَيْكَ بِالصَّوْمِ فَإِنَّهُ لاَ عِدْلَ لَهُ ، ثُمَّ أَتَيْتُهُ الثَّانِيَةَ فَقَالَ : عَلَيْكَ بِالصِّيَامِ .  (أحمد)
2.  รายงานจากอบูอุมามะห์  กล่าวว่า  ฉันได้ไปหาท่านนบี (ซ.ล.) แล้วกล่าวว่า โปรดสั่งให้ฉันทำอะไรสักอย่างหนึ่งที่จะทำให้ฉันได้เข้าสวรรค์  ท่านนบี (ซ.ล.) กล่าวว่า  “ท่านต้องถือศีล-อด เพราะไม่มีอะไรจะมาเทียบเท่าได้เลย”  หลังจากนั้นฉันก็มาถามอีกเป็นครั้งที่สอง  ท่านก็ตอบเหมือนเดิม  (ฮะดิษอะหมัด)
       [ 3 ] قال رسول الله صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : لاَ يَصُوْمُ عَبْدٌ يَوْماً فيِ سَبِيْلِ اللهِ إلاَّ بَاعَدَ اللهُ بِذَلِكَ الْيَوْمِ النَّارَ عَنْ وَجْهِهِ سَبْعِيْنَ خَرِيْفاً .  ( رواه الجماعة)
      3.  ท่านนบี (ซ.ล.) กล่าวว่า  “คนๆ หนึ่งที่ถือศีล-อดหนึ่งวันตามแนวทางที่อัลลอฮ์กำหนด  พระองค์จะให้เขาห่างไกลจากไฟนรกถึง 70 ปี ด้วยเหตุของการถือศีล-อดในวันนั้น”  ( รายงานไว้ทุกอิหม่าม ยกเว้นอบูดาวุด)
[ 4 ] قال رسول الله صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : مَنْ صَامَ رَمَضَانَ إِيْمَاناً وَاحْتِسَاباً غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِه .( أحمد)
4.  ท่านนบี (ซ.ล.)  กล่าวว่า  “ผู้ใดถือศีล-อดในเดือนรอมฎอนด้วยการมีศรัทธาเชื่อมั่น และมุ่งหวังการตอบแทน  ความผิดของเขาจะได้รับการอภัย”     ( ฮะดีษอะหมัด)
องค์ประกอบหลักของการถือศีล-อด 
       การถือศีล-อดจะเป็นการถือศีล-อดที่ถูกต้องได้  จะต้องมีองค์ประกอบ  2  ประการด้วยกัน  คือ
       1.  มีความตั้งใจ  หรือเจตนาจะถือศีล-อด
      2.  มีการงดจากการกินและการดื่ม ตลอดจนข้อห้ามต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ ในช่วงเวลาตั้งแต่รุ่งอรุณ  จนถึงดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า
ผู้ที่ศาสนากำหนดให้ถือศีล-อด 
       ผู้ที่ต้องถือศีล-อด  คือ  มุสลิมที่บรรลุศาสนภาวะ , มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์
       สำหรับผู้ที่ได้รับการผ่อนผัน ไม่ต้องถือศีล-อด  ได้แก่ เด็ก , คนชรา , คนป่วย , คนเดินทาง , สตรีที่มีรอบเดือน , สตรีที่มีเลือดหลังการคลอดบุตร  , สตรีที่มีครรภ์  หรือกำลังอยู่ในช่วงเวลาให้นมลูก
ประเภทของผู้ที่ได้รับการผ่อนผัน
       1.  ผู้ที่ไม่ต้องถือศีล-อด และไม่ต้องชดใช้  ได้แก่  คนเสียสติ  และเด็กที่ยังไม่บรรลุศาสนภาวะ  (ในกรณีที่เป็นเด็กสมควรที่ผู้ปกครองจะสั่งใช้ให้ฝึกฝนการถือศีล-อด ตั้งแต่ยังเด็ก เพื่อสามารถทำได้เมื่อถึงวัยที่บรรลุศาสนภาวะ) 
       2.  ผู้ที่ไม่ต้องถือศีล-อด  และจำเป็นต้องถือศีล-อดชดใช้ในวันอื่น  ได้แก่
              2.1  ผู้ป่วยที่ไม่ใช่การป่วยแบบเรื้อรัง
              2.2  คนเดินทาง
              3.3  สตรีที่กำลังมีประจำเดือน
              3.4  สตรีที่กำลังมีเลือดหลังการคลอดบุตร
       3.  ผู้ที่ไม่ต้องถือศีล-อด  และจำเป็นต้องจ่ายฟิตยะห์  ได้แก่
              3.1  คนชรา
              3.2  คนป่วยที่มีอาการเรื้อรังยาวนาน
              3.3  ผู้ใช้แรงงานหนัก
              3.4  หญิงตั้งครรภ์ หรือให้นมลูก
การจ่ายฟิตยะห์ชดเชยการถือศีล-อด  คือ  การให้อาหารแก่คนยากจน  1  คน  แทนการถือศีล-อด  1  วัน 
 การปฏิบัติตนในการถือศีล-อด
       1. มีความตั้งใจจะทำการถือศีลอดในวันรุ่งขึ้น
       2.  รับประทานอาหารสะโฮร
            -  อาหารสะโฮร จะเป็นสิ่งใดก็ได้ จะรับประทานมาก หรือน้อยก็ได้ หรือแม้แต่เพียงดื่มน้ำ ก็ถือว่าเป็นอาหารสะโฮรได้
            -  เวลาของสะโฮร เริ่มตั้งแต่เที่ยงคืน จนถึงแสงอรุณขึ้น
            -  ส่งเสริมรับประทานอาหารสะโฮรในช่วงท้ายของเวลา (ใกล้เวลาศุบฮิ)
       3.  รีบละศีล-อดเมื่อเข้าเวลามักริบ
          เมื่อได้เวลามักริบ ควรรีบละศีล-อดทันทีโดยไม่รอช้า สมควรละ ศีล-อดด้วยอินทผลัมก่อนรับประทานอาหารอื่น หากสามารถทำได้  และให้เป็นจำนวนคี่  หากไม่มีอินทผลัม ก็ให้ละศีล-อดด้วยน้ำก่อน  แล้วจึงรับประทานอาหารอื่นๆ
       4.  งดเว้นการกระทำไร้สาระ หรือสิ่งที่สวนทางกับคำว่า ถือศีล-อด
               เพราะการถือศีล-อดไม่ใช่เพียงการอดอาหาร และเครื่องดื่มเท่านั้น แต่ต้องงดเว้นจากสิ่งไม่ดีต่างๆ ด้วย
       5.  ส่งเสริมให้แปรงฟัน และทำความสะอาดช่องปากในช่วงถือศีล-อด
       6.  อ่านและศึกษาอัลกุรอาน
       7.  ขอดุอาอฺมากๆ
       8.  ทำอิบาดะฮ์มากๆ โดยเฉพาะช่วง 10 วันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน
สิ่งที่อนุโลมให้กระทำได้ในขณะถือศีล-อด 
       1.  อาบน้ำ แช่น้ำ หรือดำน้ำ
       2.  เขียนตา  -  หยอดตา
       3.  การจูบที่ยังสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้
       4.  ฉีดยา
       5.  กรอกเลือด
       6.  การกลั้วคอ  และการสูดน้ำเข้าจมูก  (แต่ต้องระวังมากๆ )
       7.  สิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น ฝุ่น , ควัน , กลิ่น
       8.  การสูดดมสิ่งที่มีกลิ่นหอม เช่น ดมดอกไม้ , น้ำหอม
       9.  การทาครีมที่ผิวหนังของร่างกาย
สิ่งที่ทำให้เสียศีล-อด 
       สิ่งที่ทำให้เสียศีล-อด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
       1.  สิ่งที่ทำให้เสียศีล-อด และจำเป็นต้องถือศีล-อดชดใช้ด้วย ได้แก่
              -  กิน หรือดื่มโดยเจตนา (หากเกิดจากการลืมไม่ทำให้เสียศีล-อด)
              -  การทำให้อาเจียนโดยเจตนา  (หากอาเจียนเองไม่ต้องถือศีล-อดชดใช้)
              -  การมีเลือดประจำเดือน หรือเลือดหลังการคลอดบุตร
             -  การทำให้เกิดการหลั่งอสุจิโดยเจตนา  (หากไม่เกิดจากการเจตนา ถือว่าไม่เสียศีล-อด เช่น นอนหลับฝันร่วมประเวณี)
              -  การกลืน กินสิ่งที่ไม่ใช่อาหารลงสู่ลำคอ
              -  ผู้ที่เจตนาละศีล-อด
       2.  สิ่งที่ทำให้เสียศีล-อด และจำเป็นต้องถือศีล-อดชดใช้ พร้อมจ่ายกัฟฟาเราะฮฺด้วย ได้แก่  การร่วมประเวณีในเวลากลางวันของเดือนรอมฎอน
       กัฟฟาเราะฮฺ  คือ  การปล่อยทาส 1 คน , หากไม่สามารถทำได้ ก็ให้ถือศีล-อด  2 เดือนติดต่อกัน , หากไม่สามารถทำได้ ก็ให้เลี้ยงอาหารคนยากจน 60 คน
การถือศีล-อดชดใช้
       เมื่อมุสลิมคนใดถือศีล-อดไม่ครบ 1 เดือน เขาจำเป็นต้องถือศีล-อดชดใช้ ตามจำนวนวันที่ขาดไป โดยสามารถถือศีล-อดชดใช้เมื่อใดก็ได้หลังจากเดือนรอมฎอนผ่านไปแล้ว โดยจะถือแบบติดต่อกันไป ตามจำนวนวันที่ขาด  หรือจะถือศีล-อดแบบไม่ติดต่อกันก็ได้
ผู้ที่เสียชีวิตลง และขาดการถือศีล-อด 
       เมื่อมุสลิมที่ถือศีลอดไม่ครบ แล้วเสียชีวิตลง ทายาทของเขาสามารถเลี้ยงอาหารแก่คนยากจน ทดแทนการถือศีล-อดของเขาได้ หรือจะถือศีล-อดแทนให้เขา ตามจำนวนวันที่ขาดไป ก็สามารถทำได้

 صـلاة التراويح
 การละหมาดตะรอเวี๊ยะห์
ละหมาดตะรอเวี๊ยะฮ์  หมายถึง  การละหมาดที่กระทำในค่ำคืนของเดือนรอมฎอนหลังจากละหมาดอิชาอฺแล้ว  จะเรียกชื่อว่า  “ตะรอเวี๊ยะห์”  หรือ เรียกว่า “กิยามุรอมฎอน” ก็ได้
รูปแบบการละหมาดตะรอเวี๊ยะห์
      การละหมาดตะรอเวี๊ยะห์ กระทำหลังจากละหมาดอิชาอฺแล้ว  โดยให้ละหมาดทีละ 2 ร็อกอะห์แล้วให้สลาม  เมื่อครบจำนวนแล้ว ก็ให้ละหมาดวิเต็ร
จำนวนร็อกอะฮ์ของการละหมาดตะรอเวี๊ยะห์
      ตามที่มีปรากฏจากฮะดิษหลายบทระบุว่า ท่านนบี (ซ.ล.) เคยละหมาดตะรอเวี๊ยะห์ จำนวน 8 ร็อกอะห์  และละหมาดวิเต็รจำนวน 3 ร็อกอะฮฺ รวมเป็น 11 ร็อกอะห์  และมีรายงานว่า มีซ่อฮาบะห์ กระทำด้วยจำนวน 8 ร็อกอะห์เช่นกัน เช่น ท่านอุบัย อิบนิ กะอฺบิน  ดังนั้น จำนวน 8 ร็อกอะห์นี้  คือ  ซุนนะห์ของท่านนบี (ซ.ล.)
      ต่อมาได้มีรายงาน บันทึกว่า ในสมัยค่อลีฟะห์ คือ สมัยของท่านอุมัร , ท่านอุษมาน และท่านอะลี  มีผู้คนละหมาดตะรอเวี๊ยะห์เป็นจำนวน 20 ร๊อกอะห์จึงมีการปฏิบัติตามกันมา จึงถือได้ว่าจำนวน 20 ร็อกอะฮฺนั้นเป็นการกระทำที่เกิดในสมัยของซ่อฮาบะห์
สาเหตุที่มีการเพิ่มจำนวนร็อกอะฮฺ
     เนื่องจากคำว่า “ตะรอเวี๊ยะห์” แปลว่า หยุดพัก ดังนั้น คนที่ทำละหมาดจึงมีการหยุดพักเป็นระยะ คนที่อยู่มักกะฮ์จึงทำการฏอวาฟในขณะหยุดพัก จึงทำให้คนเมืองอื่นๆ เช่น มะดีนะห์ , อิรัค เป็นต้น ต้องการได้รับความดีมากขึ้น จึงได้เพิ่มจำนวนร็อกอะฮฺขึ้นไป จำนวนร็อกอะฮฺที่เพิ่มขึ้นจนเป็น 20 ร็อกอะฮฺนั้นเกิดขึ้นในสมัยคอลีฟะห์ดังที่กล่าวมาแล้ว จึงถือว่าเป็นการยอมรับของซอฮาบะห์ ส่วนจำนวนอื่นๆ เช่น 36 หรือ  40 เกิดขึ้นในยุคหลังจากซอฮาบะห์ จึงไม่นำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ
เราจะละหมาดตะรอเวี๊ยะห์ด้วยจำนวนเท่าใด
      สำหรับแนวทางในการนำไปปฏิบัติในเรื่องจำนวนร๊อกอะห์ของการละหมาดตะรอเวี๊ยะห์ คือ สมควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นซุนนะห์ ตามแนวทางที่ท่านนบี (ซ.ล.) ทำไว้ นั่นคือ ละหมาดตะรอเวี๊ยะห์  8 ร๊อกอะห์  รวมกับวิตริอีก 3 ร๊อกอะห์  รวมเป็น 11 ร๊อกอะห์
       ส่วนผู้ที่จะทำละหมาดด้วยจำนวน 20 ร็อกอะฮ์นั้น ก็ถือว่าไม่ผิด  เพราะเป็นสิ่งที่มีการกระทำในยุคของซ่อฮาบะห์  และการกระทำของซ่อฮาบะห์ย่อมถือว่าไม่ผิด
     แต่ก็มีคำถามขึ้นว่า  เพราะเหตุใดเราจึงละทิ้งซุนนะห์ของท่านนบี (ซ.ล) แล้วไปเลือกกระทำตามแนวทางที่ซ่อฮาบะห์เคยทำไว้ หากในยุคของเรามีสภาพเหตุการณ์ที่เหมือนกับในยุคของซ่อฮาบะห์ เราก็อาจเลือกปฏิบัติตามสิ่งที่ซ่อฮาบะห์เคยกระทำไว้ได้ แต่ถ้าไม่มีเหตุผลใดๆ การปฏิบัติให้เหมือนกับที่ท่านนบี (ซ.ล.) กระทำไว้ย่อมดีกว่า
(2) หมายถึง เป็นการกระทำของผู้ตนในช่วงเวลานั้น มิใช่การกระทำของคอลีฟะห์ทั้งสาม แต่ท่านก็รับรู้ และไม่ได้ห้ามปราม ย่อมแสดงว่าสามารถเพิ่มจำนวนร็อกอะฮฺจากที่ท่านนบีทำไว้ได้
  
صـلاة الوتر
การละหมาดวิเต็ร
ละหมาดวิเต็ร เป็นละหมาดที่เน้นส่งเสริมให้กระทำ สามารถทำได้ตลอดทั้งปี เป็นละหมาดที่ท่านนบี (ซ.ล.) กระทำเป็นประจำ ไม่เคยขาด
เวลาของการละหมาดวิเต็ร
เวลาของการละหมาดวิเต็รนั้นเริ่มตั้งแต่หลังละหมาดอิชาอฺไปจนถึงเวลาละหมาดซุบฮิ จะละหมาดตอนไหนก็ได้ แต่สมควรให้ละหมาดวิเต็ร เป็นละหมาดสุดท้ายในค่ำคืนนั้น
สำหรับในเดือนรอมฎอนจะทำละหมาดวิเต็รหลังจากละหมาดตะรอเวี๊ยะห์
จำนวนร็อกอะห์ของละหมาดวิเต็ร
ละหมาดวิเต็รจะมีจำนวนร็อกอะห์เป็นเลขจำนวนคี่ ได้แก่ 1,3,5,7,9,11 ร็อกอะห์  แต่สำหรับในเดือนรอมฎอน มุสลิมส่วนใหญ่มักจะละหมาดวิเต็รด้วยจำนวน 3 ร็อกอะห์ เมื่อรวมกับละหมาดตะรอเวี๊ยะห์   8  ร็อกอะห์ จึงได้เป็น 11 ร็อกอะห์ ตรงตามที่ท่านนบี (ซ.ล.) เคยทำไว้
รูปแบบการปฏิบัติ
แบบที่ 1  ละหมาดทีละ 2  ร็อกอะห์ โดยให้สลาม แล้วจึงละหมาดอีก 1 ร็อกอะห์  เช่น  หากทำละหมาดวิเต็ร 3 ร็อกอะห์  ให้ละหมาด 2 ร็อกอะฮ์ แล้วให้สลาม จากนั้นทำอีก 1 ร็อกอะฮ์  
แบบที่ 2  ละหมาดทั้งหมดโดยมีการนั่งตะชะฮุด 2 ครั้ง และให้สลาม 1 ครั้ง  เช่น 
หากทำละหมาดวิเต็ร  3 ร็อกอะห์ ให้ละหมาดโดยร็อกอะฮ์ที่ 2 ให้นั่งตะชะฮุด แล้วยังไม่ต้องให้สลาม ให้ขึ้นเพื่อทำร็อกอะฮ์ที่  3  จากนั้นจึงให้สลาม     
แบบที่ 3  ละหมาดแบบรวดเดียว ครบตามจำนวน โดยนั่งตะชะฮุดเพียงครั้งเดียวแล้วให้สลาม
การขอดุอาอฺกุนูตในละหมาดวิเต็ร
ได้มีบทบัญญัติให้มีการขอดุอาอฺกุนูตในละหมาดวิเต็ร โดยปรากฏฮะดิษว่า ท่านนบี (ซ.ล.) ได้สอนบทดุอาอฺกุนูตให้แก่ ท่านฮะซัน อิบนิ อาลี  จึงเป็นหลักฐานว่า มีการกุนูต ในละหมาดวิเต็ร และสามารถทำได้ตลอดทุกครั้งที่ละหมาดวิเต็ร
     สำหรับทัศนะที่มีการกุนูต เฉพาะครึ่งหลังของเดือนรอมฎอนนั้น มีรายงานจากการกระทำที่เกิดขึ้นในสมัยค่อลีฟะห์ อุมัร
   การยกมือในตอนกุนูต  นักวิชาการมีความเห็นว่า ส่งเสริมให้ยกมือในการขอดุอาอฺกุนูต แต่บางท่านก็บอกว่า ไม่ต้องยกมือก็ได้ และถ้ายกมือก็ไม่จำเป็นต้องลูบหน้า
ดุอาอฺที่กล่าวหลังจากละหมาดวิเต็ร
سُبْحَانَ الْمَلِكِ الْقُدُّوْسِ
ขอความบริสุทธิ์มีแด่ผู้ทรงอำนาจอันสูงส่ง
ให้กล่าว 3 ครั้ง โดยครั้งที่ 3 ให้กล่าวเสียงดังขึ้น  หลังจากนั้น ให้กล่าวว่า
رَبُّ الْمَلاَئِكَةِ وَالرُّوْحِ
พระผู้เป็นเจ้าของมะลาอิกะฮฺและญิบรีล

ليلة القدر
คืนอัลก็อดรฺ
       คืนอัลก็อดรฺ หรือที่เรียกกันว่า คืนลัยละตุ้ลก๊อด เป็นค่ำคืนที่มีความประเสริฐมากกว่าคืนอื่นๆ ทั่วไป  ในอัลกุร อานระบุว่ามีความประเสริฐมากกว่าคืนธรรมดาทั่วไป ถึง  1,000  เดือน  ดังนั้น จึงสมควรแสวงหาและทำความดีในค่ำคืนนั้น เช่น การละหมาด และ การขอดุอา เป็นต้น
       ท่านนบี  (ซ.ล.) กล่าวว่า
 قال رسول الله صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : مَنْ قَامَ لَيْلَةَ الْقَدْرِ إِيْمَاناً وَاحْتِسَاباً غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ .[ البخاري ومسلم ]
“ผู้ใดทำละหมาดในคืนลัยล่ะตุ้ลก็อดริ ด้วยการมีศรัทธาเชื่อมั่น และมุ่งหวังการตอบแทน  ความผิดของเขาจะได้รับการอภัย”    (ฮะดีษบุคอรีและมุสลิม)
ค่ำคืนใด คือคืนลัยละตุ้ลก๊อด ?
นักวิชาการส่วนใหญ่มีความเห็นว่า  ตรงกับคืนที่  27  ของเดือนรอมฎอน
แนวทางการปฏิบัติ  เมื่อทราบว่า ความเห็นส่วนใหญ่ของนักวิชาการเห็นว่าตรงกับค่ำคืนที่ 27 ของเดือนรอมฎอนไม่ได้หมายความว่า ให้มุ่งมั่นทำความดี เฉพาะคืนที่ 27 เท่านั้น เพราะในคำสอนตามแนวทางของท่านนบี (ซ.ล.) นั้น ส่งเสริมให้ทำอิบาดะห์ให้เต็มที่ในช่วง 10 วันสุดท้าย  ดังนั้น หากเราปฏิบัติตามแนวทางของท่านนบี ก็จะไม่พลาดคืนลัยละตุ้ลก๊อดอย่างแน่นอน
 ดุอาอฺที่จะกล่าวในค่ำคืนลัยละตุ้ลก๊อดริ
       ท่านหญิงอาอิชะห์ เคยถามท่านนบี (ซ.ล.) ว่าหากนางได้พบกับคืนลัยล่ะตุ้ลก็อดริ นางจะกล่าวดุอาอฺว่าอย่างไร ท่านนบี (ซ.ล.) จึงสอนให้กล่าว ดังนี้
اللَّهُمَّ إِنَّكَ عَفُوٌ تُحِبُّ الْعَفْوَ فَاعْفُ عَنِّي
       โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงอภัย ทรงรักการให้อภัย โปรดอภัยให้ฉันด้วยเถิด

الاعتكاف
การเอี๊ยะติกาฟ
ความหมาย
       การเอี๊ยะติกาฟ หมายถึง การอยู่ประจำกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด และหักห้ามใจตนเองไม่ให้หันเหออกไปจากสิ่งนั้น
       สำหรับความหมายตามบทบัญญัติอิสลาม คือ การอยู่ประจำที่มัสยิดโดยไม่ออกไปไหน ด้วยเจตนาต้องการทำตัวให้ใกล้ชิดอัลลอฮฺด้วยการทำอิบาดะฮฺ และออกห่างจากสิ่งที่เหลวไหลไร้สาระ
       การเอี๊ยะติกาฟ เป็นซุนนะห์ที่ท่านนบี (ซ.ล.) เคยกระทำไว้ โดยท่านได้ทำการการเอี๊ยะติกาฟในช่วง 10 วันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน และในปีสุดท้ายก่อนที่ท่านจะเสียชีวิตลง ท่านได้ทำการการเอี๊ยะติกาฟเป็นเวลาถึง 20 วัน บรรดาซอฮาบะห์หลายท่านตลอดจนบรรดาภรรยาของท่านนบี ก็เคยทำการเอี๊ยะติกาฟด้วยเช่นกัน
ระยะเวลาของการเอี๊ยะติกาฟ
       ศาสนาไม่ได้มีการกำหนดระยะเวลาที่ตายตัวของการเอี๊ยะติกาฟ แต่ระยะเวลาการเอี๊ยะติกาฟ นั้นจะขึ้นอยู่กับผู้ที่ทำการเอี๊ยะติกาฟเอง เพราะตราบเท่าที่เขายังอยู่ในมัสยิดและมีเหนียตตั้งใจทำการเอี๊ยะติกาฟ ไม่ว่าระยะเวลาจะสั้นหรือยาวนานแค่ไหนก็ตาม ก็ถือว่าเขายังอยู่ในช่วงระยะเวลาของการเอี๊ยะติกาฟ แต่ถ้าเมื่อใดที่เขาออกจากมัสยิดไป หรือเหนียตเลิกการเอี๊ยะติกาฟ ก็ถือว่าสิ้นสุดการเอี๊ยะติกาฟของเขา เมื่อเขากลับเข้ามาใหม่ พร้อมด้วยการเหนียตการเอี๊ยะติกาฟ ก็จะเป็นการเริ่มการเอี๊ยะติกาฟครั้งใหม่
เงื่อนไขของตัวบุคคลที่จะทำการเอี๊ยะติกาฟ
       เงื่อนไขของตัวบุคคลที่จะทำการเอี๊ยะติกาฟ มีดังนี้
1) เป็นมุสลิม     
2) มีอายุโตพอรู้เรื่องสามารถแยกแยะสิ่งต่างๆได้
3) มีความสะอาดจากฮะดัษใหญ่
องค์ประกอบของการเอี๊ยะติกาฟ
การเอี๊ยะติกาฟจะเกิดขึ้นได้ต้องมีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ
1. มีการเหนียต
2. มีการอยู่ประจำในมัสยิด
มัสยิดทุกแห่งที่มีการละหมาดประจำ 5 เวลา สามารถเข้าทำเอี๊ยะติกาฟได้
สิ่งที่ส่งเสริมให้ผู้ทำการเอี๊ยะติกาฟกระทำ
1)    ทำอิบาดะฮฺให้มากๆ เช่น ละหมาดซุนนะห์ , อ่านอัลกุรอาน , กล่าวซิกรุ้ลลอฮฺ , กล่าวซอลาวาตท่านนบี , การขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ เป็นต้น
2)   ศึกษาหาความรู้ เช่น เรียนฮะดีษ , ตัฟซีร หรือวิชาการอื่นๆที่เป็นประโยชน์
สิ่งที่ไม่สมควรกระทำในขณะการเอี๊ยะติกาฟ
       ได้แก่ คำพูด หรือ การกระทำที่ไร้สาระไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ
สิ่งที่ผ่อนผันให้กระทำได้ในขณะทำการเอี๊ยะติกาฟ
      1. ออกจากมัสยิดเมื่อมีเหตุจำเป็น เช่น เข้าห้องน้ำเพื่อขับถ่าย
      2. ออกจากมัสยิดเพื่อรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ ในกรณีที่ไม่สามารถนำอาหารเข้าไปในมัสยิดได้
       3. การกิน การดื่ม การนอนในมัสยิด
       4. การทำความสะอาดร่างกาย , อาบน้ำ , หวีผม , ตัดเล็บ
       5. การสวมใส่เสื้อผ้าที่สวยงาม , การใส่เครื่องหอม
สิ่งที่ทำให้เสียการเอี๊ยะติกาฟ
1) เจตนาออกจากมัสยิดโดยไม่มีเหตุจำเป็น
2) เสียสติ , มึนเมา , หมดสติ
3) มีเลือดประจำเดือน หรือ เลือดนิฟาส
4) การร่วมประเวณี

زكاة الفطر
ซะกาตุ้ลฟิตริ 
  ซะกาตุ้ลฟิตริ หรือที่เรียกกันว่า ซะกาตฟิตเราะฮฺ หมายถึง ซะกาตที่มุสลิมทุกคนที่มีความสามารถจ่ายได้จะต้องจ่ายออกไปก่อนการละหมาดอีด อีดิ้ลฟิตริ
เป้าหมายของซะกาตุ้ลฟิตริ
เพื่อให้ผู้ถือศีล-อดมีความบริสุทธิ์จากข้อตำหนิ หรือข้อบกพร่องต่างในช่วงการถือศีล-อดของเขา
เพื่อเป็นสิ่งช่วยเหลือให้แก่ผู้ที่ยากจน
สิ่งที่กำหนดให้จ่ายเป็นซะกาตุ้ลฟิตริ
       ตามตัวบทฮะดีษที่กำหนดไว้ มีดังต่อไปนี้ คือ
ข้าวสาลี , ข้าวฟ่าง , อินทผาลัม , องุ่นแห้ง (ลูกเกด) , นมตากแห้ง
       จากสิ่งที่กำหนดมาดังกล่าว ทำให้เข้าใจได้ว่า สิ่งที่จะจ่ายเป็นซะกาตุ้ลฟิตร คือ สิ่งที่เป็นอาหารหลักของผู้คนทั้งหลาย ดังนั้น จึงสามารถใช้หลักการกิยาส (เทียบเคียง) จึงสามารถจ่ายซะกาตุ้ลฟิตริด้วยสิ่งที่เป็นอาหารหลักของแต่ละท้องถิ่นได้ เช่น ข้าวสาร ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว เป็นต้น
ปริมาณที่ต้องจ่าย
       ปริมาณที่ศาสนากำหนดให้จ่าย คือ 1 ซออฺ (ด้วยการตวง)            
1 ซออฺ      เท่ากับ    4   มุด
                        1 มุด         เท่ากับ    4  กอบมือ
       ดังนั้น ข้าวสาลีตวงแล้ว 1 ซออฺ จะได้น้ำหนัก ประมาณ 2.2 ก.ก. แต่ถ้าเป็นข้าวสาร จะชั่งได้ประมาณ 2.3 ก.ก. ( สามารถเกินเลยไปบ้างได้ เช่น 2.4 หรือ 2.5 ก.ก.) เพราะการจ่ายซะกาต เกินกว่ากว่าเกณฑ์ที่กำหนดเป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้
เวลาในการจ่ายซะกาตุ้ลฟิตริ
       เวลาที่กำหนดว่าจำเป็นต้องจ่าย คือ ก่อนละหมาดอีด แต่สามารถจ่ายในช่วงท้ายของเดือนรอมฎอนก็ได้ เช่น ก่อนวันอีด 1 - 2 วัน
ผู้รับซะกาตุ้ลฟิตริ
       ในอัลกุรอานซูเราะห์ อัตเตาบะฮฺ อายะห์ที่ 60 ระบุไว้เกี่ยวกับผู้รับซะกาตจะมีบุคคลอยู่ 8 ประเภท คือ
1) คนยากจน  2) คนขัดสน  3) เจ้าหน้าที่จัดการเรื่องซะกาต  4)  คนมุอัลลัฟ,ผู้สนใจอิสลาม   5) ทาส     6) ผู้มีหนี้สิน   7) ในหนทางของศาสนา    8)  ผู้เดินทาง (ที่เกิดปัญหาขาดเงินในระหว่างการเดินทาง)
       นักวิชาการเห็นว่า ซะกาตุ้ลฟิตรก็เป็นซะกาตชนิดหนึ่ง จึงสามารถจ่ายให้แก่บุคคลใดใน 8 ประเภทนี้ก็ได้ แต่ในตัวบทฮะดีษจากท่านนบี (ซ.ล.) ท่านได้กล่าวถึงว่า ซะกาตุ้ลฟิตริ เป็นการให้อาหารแก่คนยากจน ดังนั้น จึงสมควรพิจารณาจ่ายซะกาตุ้ลฟิตรให้แก่คนยากจนเป็นอันดับแรก เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ท่านนบี (ซ.ล.) กล่าวไว้ หากไม่พบจึงพิจารณาบุคคลอื่นๆต่อไป
การจ่ายซะกาตุ้ลฟิตริด้วยมูลค่าเทียบเท่า
       ท่านอิหม่ามอบูฮะนีฟะห์ (เจ้าของมัสฮับฮานาฟี) มีความเห็นว่า สามารถจ่ายซะกาตต่างๆ ด้วยมูลค่าเทียบเท่าได้ โดยพิจารณาจากจากหลักฐาน ดังนี้
       (1) จากฮะดีษของท่านนบี (ซ.ล.) ท่านได้กล่าวในเรื่องซะกาตุ้ลฟิตริว่า
أغنوهم – أي المساكين – في هذا اليوم
ให้คนยากจนได้เกิดความเพียงพอในวันนั้น
       พิจารณาจากตัวบทนี้แล้ว สามารถเข้าใจได้ว่า การจ่ายซะกาตุ้ลฟิตริด้วยมูลค่าเทียบเท่านั้น สามารถทำให้คนยากจนเกิดความเพียงพอในวันนั้นได้ จึงไม่ผิดไปจากเป้าประสงค์ของเรื่องซะกาต
       (2) จากการกระทำของซอฮาบะห์ การที่ซอฮาบะห์อนุญาตให้จ่ายซะกาตด้วยข้าวสาลีเพียง ครึ่งซออฺได้ โดยถือว่าเทียบเท่าอย่างอื่นในปริมาณ 1 ซออฺ เช่น อินทผาลัม , ข้าวฟ่าง นั่นแสดงว่า อนุญาตจ่ายซะกาตในสิ่งที่เทียบเท่าในมูลค่าได้ได้
       และด้วยความเข้าใจดังกล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า ท่านมุอาวิยะห์จึงได้กล่าวว่า “ข้าวสาลีของชาวแค้นชามเพียง 2 มุด ก็เทียบเท่าอินทผาลัม 1 ซออฺ” 
แนวทางการปฏิบัติในการจ่ายซะกาตุ้ลฟิตริ
       ให้พิจารณาถึงประโยชน์สูงสุดที่ผู้รับซะกาตพึงจะได้รับ หากเห็นว่า สำหรับเขาจ่ายเป็นอาหารจะดีกว่าก็สามารถกระทำได้ แต่ถ้าเห็นว่าจ่ายด้วยสิ่งที่เป็นมูลค่าเทียบเท่าจะเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้รับ ก็สามารถทำได้ เพราะในยุคของซอฮาบะห์ ก็เคยเข้าใจและปฏิบัติอย่างนี้ด้วย