นางสาวปารมี บุญโท
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6/6 เลขที่18
โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์

วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

มารยาทในการใช้ห้องสมุด

  ๑. ไม่นำกระเป๋า , ถุง ย่าม และอุปกรณ์เครื่องใช้เข้าห้องสมุด                   
  ๒.ไม่นำอาหาร, เครื่องดื่ม เข้ามารับประทานในห้องสมุด                          
  . ไม่ตัดหรือขีดเขียนหนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ของห้องสมุด                  
  ๔. ไม่วิ่งเล่น หรือ ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น
  ๕. ไม่ใช้ห้องสมุดเป็นที่พักผ่อนหลับนอน และไม่นำหนังสือมาหนุนนอน
  ๖. เมื่ออ่านหนังสือพิมพ์ และวารสารแล้ว ต้องนำเก็บที่เดิมทุกครั้ง
  . ก่อนออกจากห้องสมุด ให้จัดเก้าอี้เข้าที่เดิมทุกครั้ง
  ๘. เมื่อมีปัญหาในการค้นคว้าหาหนังสือ ให้สอบถามบรรณารักษ์หรือ  เจ้าหน้าที่ห้องสมุด


มารยาทในโรงหนัง


1. เสียงดัง คุยโทรศัพท์ เล่นโซเชียล หรือจะเป็นพวกที่เสียงมือถือดังขึ้น ไม่กดรับหรือปิดสาย ปล่อยให้เสียงดังไปอยู่อย่างนั้น ควรดูเงียบๆ ออกอาการได้บ้าง เช่น ฉากตกใจ ตลก หรือฉากอื่นๆ ก็ตามแต่ ก็อย่าเยอะจนไปรบกวนคนอื่นเขา อยากให้ทุกคนดูหนังกันแบบสนุกๆ แต่ต่อให้คุณสนุกมาก ประทับใจมากแค่ไหน น่าจะเก็บอาการหน่อย มาดูกับส่วนรวม ควรเอาใจเขามาใส่ใจเราบ้าง ควรปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดก่อนที่จะเข้าไปชมภาพยนตร์ในโรงหนัง ไม่งั้นก็ปิดเสียงเรียกเข้าซะ แล้วเปิดสั่นไว้แทน หรือถ้าจะคุยโทรศัพท์ ก็ไปคุยข้างนอกโรง แล้วค่อยเข้ามาใหม่

2.
ยกเท้า นั่งไขว่ห้าง หรือคนที่เอาเท้าแหย่ไปตรงช่องเก้าอี้ด้านหน้า ดันเก้าอี้ของคนข้างหน้า เพื่อความสบายของตัวเอง โดยไม่คำนึงว่าคนที่อยู่แถวล่างจะเป็นอย่างไร มันเป็นเรื่องที่ไม่ควรจะทำจริงๆ เป็นสิ่งที่น่ารำคาญมากๆ และไม่ควรเป็นอย่างยิ่ง

3.
กลิ่นไม่พึงประสงค์ หลายๆ คนจะชอบถอดรองเท้า แล้วนั่งดูหนังอย่างสบายใจเหมือนอยู่บ้านตัวเอง มันก็เกินไปหน่อย คนที่ไม่มีกลิ่นเท้าก็ไม่เป็นไรหรอก แต่สำหรับคนที่มีกลิ่นที่ไม่น่าพึงประสงค์สักเท่าไหร่ ก็ควรใส่รองเท้า อย่าให้กลิ่นที่ไม่น่าพึงประสงค์ ออกมารบกวนจมูกของคนอื่นเลย

4.
พากย์หนังทั้งเรื่อง คนจำพวกนี้ หลายๆ ท่านคงต้องเคยเจอในโรงภาพยนตร์กันมาบ้างไม่มากก็น้อย คงจะรำคาญกันอยู่ทีเดียวเลยแหละ บางคนถึงขั้นทนไม่ได้ มีด่าทอกันตามประสาก็มีเหมือนกัน การไม่เล่าตอนสําคัญๆ ของหนัง ถือเป็นมารยาทที่สำคัญมากที่สุดของเหล่านักดูหนัง เพราะคนอื่นเค้าก็ต้องการความสนุก และลุ้นกับเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นต่อไปในหนัง ต้องคิดแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา คิดดู ถ้าเราตั้งใจจะไปดูหนังเรื่องหนึ่ง แล้วดันไปเจอคนเล่าตอนจบให้ฟังซะหมดเปลือก คงจะแย่มิใช่น้อยเลย

5.
คู่รักจู๋จี๋ จิ๊จ๊ะ ก็เข้าใจนะว่าคู่รักหลายคู่อยากมีโมเมนต์ออดอ้อน ออเซาะกันบ้าง แต่ก็ใช่ว่าจะคุยกันทั้งเรื่อง ยังไงก็อ้อนกันแค่เบาๆ พองาม ไม่อย่างนั้นคนข้างๆ อาจจะคิดว่าคุณมาดูหนังหรือมาทำอะไรกันแน่ คนที่คิดว่าจะทำอะไรๆ กัน ก็ควรไปทำกันในที่ส่วนตัวของตัวเอง โรงหนังไม่ใช่พื้นที่ส่วนตัวนะจ๊ะ สงสารคนดูที่เขาตั้งใจมาดูหนังกันบ้าง หรือถ้าอยากดูหนังแบบสวีทหวานวี้ดวิ้ว ก็ให้นั่งแบบเก้าอี้คู่ เก้าอี้ส่วนตัว
มารยาทในโลกออนไลน์

1) อย่าเปิดเผยข้อมูลของตัวเองมากเกินไปนัก ไม่ ต้องบอกให้รู้ว่าบ้านเลขที่เท่าไร ทำงานอะไร เงินเดือนเท่าไร บอกในสิ่งที่พอจะบอกได้ว่าคุณมีตัวตนจริง ๆ ก็พอ ถ้ารู้ตัวว่าชีวิตมีด้านมืดที่เพื่อนร่วมงานอาจไม่อิน แนะนำให้เปิดอีกชื่อหนึ่ง บอกให้เพื่อนร่วมงานและเจ้านายรู้ เพื่อแยกเรื่องส่วนตัวออกจากเรื่องงาน
2) ถ้าเราเข้าไปตีสนิทกับคนแปลกหน้าทางออนไลน์รวดเร็วเกินไป อาจทำให้เขาหวาดระแวงว่าคุณจะเป็นมิจฉาชีพ หรือชักชวนไปขายตรง (โดยที่คุณไม่เต็มใจ) ในทำนองเดียวกัน ถ้ามีเพื่อนใหม่อยากตีสนิทกับคุณเร็วเกินไป ก็ต้องระวังว่าจุดประสงค์คือ อยากมีเพื่อนใหม่จริงๆ หรือมาขอยืมเงิน
3) อย่าเอาทุกอย่างไปใส่มาก ถึงลบไปแล้ว ก็ยังกู้กลับมาได้ใหม่ เพราะฉะนั้นคิดให้ดีก่อนเขียนอะไรลงไป อย่าคิดว่าแค่ลบคนจะจำไม่ได้ เดี๋ยวนี้คนเก่งคอมฯ มีเยอะแยะ และเร็วพอที่จะถ่ายหน้าจอไว้ทันนะจ๊ะ
 4) อย่าอินกับสิ่งที่มองไม่เห็น ปิดคอมฯ แล้วก็จบ อย่าเก็บเอาไปคิด โลกนี้ไม่ได้มีแค่อินเทอร์เน็ตกับเฟซบุ๊ก เอาเวลาออกไปใช้ชีวิตจริงบ้าง
5) อย่าคาดหวังให้ดารา หรือเซเลบคนดัง (Celebrity) มาสนใจคุณ เขาอาจมีหน้าที่ที่ต้องทำอีกมากมาย เกินกว่าจะมาตอบคำถามของคุณ ยกเว้นเสียแต่ว่าเป็นช่วง เวลานาทีทอง คนดังบอกว่า อยากตอบคำถามแฟนคลับ คุณก็ต้องรีบฉกฉวยโอกาสนี้ คนดังเองก็ต้องตอบประชาชนบ้าง เพื่อสร้างความสัมพันธ์และเข้าถึงประชาชน คงจะทำให้แฟนคลับเพิ่มขึ้นอีกมาก ที่รู้ว่าดาราหรือเซเลบของเขามองเห็นตัวตน 
6) หัดให้มากกว่ารับ ถ้าเจอข้อความหรือบทความที่ดี โดนใจ และเป็นประโยชน์ เสียเวลาไปกดปุ่มคลิกสักนิด เพื่อทำให้เรื่องราวนั้นได้ไปสู่วงกว้างขึ้น เพื่อนของเราจะได้รู้ในสิ่งที่มีประโยชน์ บล็อกเกอร์บางคนเคยตัดพ้อว่า อุตส่าห์เขียนบล็อกมาตั้งยาว และตั้งใจค้นคว้าหาเนื้อหามาเขียน แต่ไม่มีคนคอมเมนต์หรือกดแชร์ก็รู้สึกท้อใจบ้างเหมือนกัน ดังนั้น ถ้าใครเขียนดี อย่าลืมแวะมาทิ้งความเห็นที่บอกให้เขารู้บ้าง และในทางกลับกัน ถ้าคุณไม่เห็นด้วย ก็ควรบอกให้เขารู้ด้วยการเขียนคอมเมนต์ไปตอบเขาเพื่อแลกเปลี่ยน ความคิดกันในเชิงสร้างสรรค์


การปฏิบัติตนต่อญาติผู้ใหญ่

1.รักและเคารพต่อผู้ใหญ่
2.ไม่นินทาผู้ใหญ่
3.ช่วยงานผู้ใหญ่เสมอ
4.เวลาพูดควรมีหางเสียงเสมอ
5.ควรมีมารยาทต่อผู้ใหญ่เสมอ
6.เมื่อผู้ใหญ่ว่ากล่าวตักเตือนควรเชื่อฟัง
7.พูดจาไพเราะต่อผู้ใหญ่เสมอ
8.ทำกิริยามารยาทให้เหมาะสม
9.ไม่ควรพูดแซงเวลาผู้ใหญ่คุยกัน
10.มีความกตัญญูต่อผู้ใหญ่เสมอ


มารยาทในการแต่งกายที่พึงประสงค์


การแต่งกายเป็นมารยาททั่ว ๆ ไปซึ่งทุกคนต้องปฏิบัติเหมือนกันตามแต่โอกาสที่เหมาะสม เช่น แต่งกายไปทำงาน,ไปวัด ทำบุญ,ไปเล่นกีฬา และงานพิธีต่าง ๆ หรือการแต่งกายที่อยู่ในเครื่องแบบของนักเรียน นักศึกษา ทหาร ตำรวจ บริษัทห้างร้านที่กำหนดให้พนักงานแต่งกาย เป็นต้น หากบุคคลใดสามารถปฏิบัติได้ตามกฎระเบียบที่กำหนดถือว่าเป็นผู้มีมารยาทในการแต่งกายที่ดี
     
เครื่องแต่งกายเป็นสิ่งแรกที่สะดุดตาผู้ที่พบเห็น ถ้าแต่งกายเหมาะสมก็จะก่อให้เกิดความประทับใจในทางที่ดี หากแต่งตัวไม่เหมาะสมผู้อื่นก็จะมองเราในลักษณะที่ไม่สู้ดีนัก แม้จะเป็นความจริงว่าคนเลวอาจซ่อนร่างอยู่ในเครื่องแต่งกายที่เรียบร้อยสวยงามก็ได้ แต่ถ้าคนดีมีความรู้ความสามารถนั้นหากแต่งกายไม่เหมาะสม คนที่พบเห็นครั้งแรกอาจไม่เกิดความนิยม เลื่อมใส และเป็นการปิดโอกาสของตนเองที่จะได้แสดงความดีและความสามารถ ดั้งนั้น การแต่งกายจึงเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรก หลักสำคัญเกี่ยวกับการแต่งกาย คือ แต่งกายสะอาด แต่งกายสุภาพเรียบร้อย และแต่งกายถูกต้องตามกาลเทศะ
     
การแต่งกายสะอาด ความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญ แต่ความสะอาดในที่นี้ไม่เกี่ยวกับ ความเก่าความใหม่ เพราะเครื่องแต่งกายที่ใหม่อาจสกปรกก็ได้ และเครื่องแต่งกายที่เก่ามีรอยปะชุนก็อาจดูสะอาดได้ หรือเครื่องแต่งกายราคาแพงก็อาจดูสกปรกได้ แต่เครื่องแต่งกายราคาถูกก็ดูสะอาดได้ ดังนั้น คนฐานะที่ไม่ดีนักก็สามารถแต่งตัวสะอาดได้เท่ากับคนฐานะดี โดยเสื้อผ้าที่เราสวมใส่อยู่นั้นก็ควรซักรีดให้เรียบร้อย รองเท้าก็ขัดให้ดูพองาม กระเป๋าก็เช็ดถูให้ดูสะอาดเหล่านี้ใคร ๆ ก็ทำได้ แต่จะทำหรือไม่เท่านั้น อนึ่งการอาบน้ำชำระกายให้สะอาด และการดูแลเล็บมือ เล็บเท้ามิให้สกปรก ก็เป็นสิ่งที่ควรดูแลรักษาทำความสะอาดด้วย
การแต่งกายสุภาพเรียบร้อย การแต่งกายควรแต่งให้เรียบร้อยพอควร เพราะ คนแต่ละคนหรือสังคมแต่ละแห่ง อาจมีเกณฑ์วัดความสุภาพเรียบร้อยต่างกันออกไป แต่ถ้าใช้สามัญสำนึกสักหน่อย ก็จะพอรู้ว่าในสังคมไทยแต่งกายอย่างไรจึงจะถือว่าแต่งกายเรียบร้อย และอย่างไรถือว่าไม่เรียบร้อย เช่น การใส่เสื้อกล้ามไปร้านอาหาร การแต่งกายโดยเปิดเผยให้เห็นส่วนของร่างกายที่ควรสงวน หรือใส่เสื้อผ้ารัดแน่นจนน่าเกลียด หรือสวมกระโปรง กางเกงที่สั้นมาก ๆ เพื่อต้องการแสดงและเน้นสรีระของร่างกาย โดยเฉพาะการแต่งกายดังกล่าวข้างต้นไปในสถานที่ควรแก่การสักการะบูชา เช่น ศาสนสถาน วัด โบสถ์ หรือสถานที่ราชการ สถานศึกษา ฯลฯ ซึ่งถือว่าไม่สุภาพเรียบร้อย
การแต่งกายถูกต้องตามกาลเทศะ การแต่งกายนอกจากจะสะอาดและมีความสุภาพเรียบร้อยแล้ว ควรให้เหมาะสมกับสมัยนิยมและให้เหมาะกับสถานที่ที่จะไปด้วย การแต่งกายที่ผิดสมัยนิยมนั้นหากสะอาดและสุภาพเรียบร้อยก็ไม่น่าจะมีอะไรเสียหายมาก แต่คนอาจมองว่าเชยเท่านั้น ดังนั้นการแต่งกายให้ถูกกาลเทศะนั้นเป็นเรื่องสำคัญ จึงควรระวังแต่งกายให้ถูกกาลเทศะ ดังนี้
ควรแต่งกายให้เหมาะสมกับงานที่จะไป เช่น ไม่แต่งชุดดำไปงานแต่งงาน ไม่แต่งสีฉูดฉาดไปงานศพ เป็นต้น แต่งกายให้เกียรติเจ้าภาพของงานตามสมควร เช่น ไปงานเลี้ยงสังสรรค์ระหว่างเพื่อนฝูงจะแต่งลำลองอย่างไรก็ได้ แต่ถ้าไปงานแต่งงานที่จัดหรูหราเป็นพิธีรีตรอง จะสวมใส่เสื้อยืดกางเกงยีนส์ไปคงไม่เหมาะสม เพราะถือว่าไม่ให้เกียรติเจ้าภาพ แต่ถ้าเรามีเงินน้อย ไม่มีชุดสากลหรือชุดพระราชทาน จะใส่กางเกงและเสื้อธรรมดาไปก็ได้ ข้อสำคัญคือต้องสะอาดและสุภาพเรียบร้อย
การแต่งกายอย่างหนึ่งอาจเหมาะสมกับที่หนึ่ง แต่ไม่เหมาะสมกับอีกที่หนึ่ง เช่น ใส่ชุดว่ายน้ำอยู่ที่ชายหาดหรือริมสระว่ายน้ำ ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเดินไปในที่ห่างจากชาดหาดและสระมาก ๆ ก็ดูไม่เหมาะสม หรือการสวมรองเท้าแตะที่บ้าน หรือเดินเล่นนอกบ้านก็ไม่เป็นไร แต่จะใส่ไปโรงเรียนหรือไปทำงานบางอย่างก็ถือว่าเป็นการไม่เหมาะสม เป็นต้น ความสะอาดและความสุภาพเรียบร้อยสำคัญที่สุด เพราะคนเรานั้นต่างจิตต่างใจกัน คนหนึ่งว่าเหมาะอีกคนว่าไม่เหมาะ ดังนั้นถ้ามีปัญหาก็ให้ยึดหลักความสะอาดและสุภาพไว้ก่อน ซึ่งใช้ได้ทุกกรณี อันที่จริงการแต่งกายสะอาดและสุภาพแล้วก็ไม่ต้องกังวลกับเรื่องอื่นจนเกินไป
ดังนั้น มารยาทการแต่งกายที่พึงประสงค์ จึงไม่ได้หมายถึง การแต่งกายตามแฟชั่น แต่เป็นการแต่งกายที่จะต้องคำนึงถึงความสุภาพเรียบร้อย สะอาด ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า เมื่อมีผู้พบเห็นจะรู้สึกทันทีว่าผู้ที่แต่งกายดีถูกต้องตามกาลเทศะ คือ คนที่ควรได้รับการชมเชย จากสังคมและผู้ปฏิสัมพันธ์ด้วย ในมุมกลับกันหากแต่งกายไม่สุภาพเรียบร้อย ก็จะเกิดคำตำหนิ ติเตียน จากผู้ที่พบเห็น ทำให้เสื่อมเสียทั้งตนเอง สถานบันครอบครัว และสถานศึกษา ดังตัวอย่างการแต่งกายที่ไม่เหมาะสมดั่งที่เป็นข่าว จึงขอฝากข้อควรคำนึงถึงการแสดงมารยาทที่พึงประสงค์ต่อสถานที่อันควรเคารพสักการะ ได้แก่ แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย ถอดหมวก ถอดรองเท้า ลดร่มลง ไม่แสดงอาการเหยียดหยามหรือพูดคำหยาบ ไม่ส่งเสียงเอะอะอื้ออึง และทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่น ไม่กล่าวคำทำนองว่าไม่เชื่อหรือไม่ศรัทธาต่อสถานศักดิ์สิทธิ์นั้น ทำใจเป็นกลาง ไม่คิดแต่จะจับผิด เนื่องจากถือว่าเป็นสถานที่ที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาที่ตนนับถือ ปฏิบัติตามธรรมเนียมที่เขาปฏิบัติกัน ยกเว้นธรรมเนียมนั้นจะขัดกับศรัทธาของตนหรือขัดกับหลักคำสอนของศาสนาที่ตนนับถือ คำนึงอยู่เสมอว่าสถานศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาใด ศาสนิกชนในศาสนานั้นก็เคารพสักการะ อย่าแสดงอะไรที่เป็นการทำลายน้ำใจกัน 


1. เมื่อได้รับเชิญไปรับประทานอาหารในงานพิธีใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานแบบไทยแบบฝรั่งย่อมใช้มารยาทสุภาพเช่นเดียวกันถ้าเป็นการรับประทานแบบนั่งเก้าอี้ก็ต้องนั่งตัวตรงเรียบร้อยแลใช้เครื่องใช้ในการรับประทานอาหารที่เป็นส่วนของตน เช่น จาน ชาม ช้อน ส้อม มีด จานแบ่ง ผ้าเช็ดมือ ถ้วยน้ำแลถ้วยเหล้า ถ้าเป็นอาหาร ไทยต้องใช้ช้อนกลางตักอาหารที่เป็นของกลาง ไม่ใช้เครื่องมือของตนเองตักอาหารซึ่งเป็นของกลาง

2. เวลารับประทานอาหารต้องรับประทานโดยระมัดระวัง ไม่ทำให้เลอะเทอะมูมมาม ควรหุบปากเวลาเคี้ยวอาหารเพื่อระวังมิให้มีเสียงดัง

3. ไม่ใช้มือของตนเองแตะต้องหรือหยิบอาหารที่ผู้อื่นจะบริโภค หรืออาหารที่เป็นของกลาง

4. ในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่นต้องรอให้ผู้มีอาวุโสกว่านั่งก่อนจึงนั่ง แลผู้อาวุโสเริ่มรับประทานก่อนจึงรับประทาน

5. ถ้านั่งเก้าอี้ควรนั่งตัวตรง ไม่ท้าวศอกบนโต๊ะอาหารถ้านั่งกับพื้นควรนั่งพับเพียบเรียบร้อยแลตั้งตัวตรงไม่ท้าวแขน

6. การใช้ผ้าเช็ดมือ เมื่อเข้านั่งโต๊ะอาหารก่อนจะรับประทานควรหยิบผ้าเช็ดมือปูที่ตัก ก่อนดื่มควรใช้ผ้าเช็ดมือเช็ดปากก่อนทุกครั้งเพื่อมิให้แก้วเป็นคราบ ดื่มเสร็จแล้วเช็ดอีกครั้ง

7. ถือช้อนด้วยมือขวาแลส้อมด้วยมือซ้ายในเวลารับประทานอาหารแบบไทย

8. การซดน้ำซุบหรือน้ำแกง ย่อมซดจากข้างช้อนแลซดอย่างเงียบอย่าให้มีเสียงดัง

9. การใช้มีด มีไว้สำหรับตัดอาหาร จะนำไปจิ้มอาหารเข้าปากไม่ได้ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ผู้ใดใช้มีดส่งอาหารเข้าปากผู้นั้นเสียมารยาทอย่างมาก

10. ในการรับประทานอาหารน้ำชาหรือกาแฟ ช้อนกาแฟหรือช้อนชามีไว้สำหรับใช้คนเท่านั้นเมื่อคนเสร็จแล้วต้องว่างไว้ในจานรองถ้วยอย่าคาช้อนไว้ในถ้วย แลอย่าซดจากช้อนเป็นอันขาด

11. การรับประทานอาหารแบบไทยหรือแบบพึ่งตัวเอง เรารับประทานด้วยมองของเราเอง ก่อนรับประทานต้องล้างมือให้สะอาด ใช้ผ้าสะอาดปูลาดบนพื้นบ้าน ผู้ที่จะรับประทานนั่งลงล้อมวงกันตักข้าวใส่จานก้นตื้นให้ครับคนลงมือตักข้าวกับใส่จานด้วยช้อนกลาง ใช้มือขาวขยุ้มของที่ตักมากับข้าวในจานให้เป็นก้อนให้พอดีกับปากของตัว ใช้นิ้วหัวแม่มือผลักก้อนข้าว
ให้เข้าไปอยู่ในปาก ต้องระวังอย่าให้ร่วงหล่นออกจากปากจะเป็นการเสียมารยาท

12. การรับประทานอาหารชนิดช่วยตัวเองหรือบุ๊ฟเฟ่ท์ โดยมากจัดสำหรับเมื่อมีแขกมาก ๆ คือเจ้าของบ้านจะวางอาหารพร้อมทั้งคาวหวานแยกกันไว้เป็นหมู่ จัดอย่างสวยงามทั้งคาวหวาน แล้วเชิญแขกที่รับเชิญไปแบ่งรับประทานเองตามใจชอบ

13. ผู้รับเชิญจะเดินไปหยิบเครื่องมือสำหรับรับประทานก่อน เช่น จาน ชาม ส้อม ช้อน มีด และอื่น ๆ 

14. เมื่อมีเครื่องอุปกรณ์พร้อมแล้วจึงเดินเลือกอาหารตามใจชอบ

15. เราควรจะรู้จักกระเพาะอาหารของเราให้ดีว่าจะบรรจุอาหารนักเท่าใด แล้วแบ่งให้พอดีกับความต้องการของตน อย่าโลภตักแบ่งไปจนรับประทานไม่หมด และอย่าแบ่งโดยคุ้ยเขี่ยทำลายความสวยงามที่เขาตบแต่งอาหารไว้

16. เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้วก็วางไว้ที่ใดที่หนึ่งที่เหมาะแก่จานชามที่ใช้แล้ว หรือส่งให้คนรับใช้ที่เดินเก็บจานชามที่แขกรับประทานเสร็จแล้วก็ได้
มารยาทในการรับประทานอาหาร


1. เมื่อได้รับเชิญไปรับประทานอาหารในงานพิธีใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานแบบไทยแบบฝรั่งย่อมใช้มารยาทสุภาพเช่นเดียวกันถ้าเป็นการรับประทานแบบนั่งเก้าอี้ก็ต้องนั่งตัวตรงเรียบร้อยแลใช้เครื่องใช้ในการรับประทานอาหารที่เป็นส่วนของตน เช่น จาน ชาม ช้อน ส้อม มีด จานแบ่ง ผ้าเช็ดมือ ถ้วยน้ำแลถ้วยเหล้า ถ้าเป็นอาหาร ไทยต้องใช้ช้อนกลางตักอาหารที่เป็นของกลาง ไม่ใช้เครื่องมือของตนเองตักอาหารซึ่งเป็นของกลาง

2. เวลารับประทานอาหารต้องรับประทานโดยระมัดระวัง ไม่ทำให้เลอะเทอะมูมมาม ควรหุบปากเวลาเคี้ยวอาหารเพื่อระวังมิให้มีเสียงดัง


3. ไม่ใช้มือของตนเองแตะต้องหรือหยิบอาหารที่ผู้อื่นจะบริโภค หรืออาหารที่เป็นของกลาง


4. ในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่นต้องรอให้ผู้มีอาวุโสกว่านั่งก่อนจึงนั่ง แลผู้อาวุโสเริ่มรับประทานก่อนจึงรับประทาน


5. ถ้านั่งเก้าอี้ควรนั่งตัวตรง ไม่ท้าวศอกบนโต๊ะอาหารถ้านั่งกับพื้นควรนั่งพับเพียบเรียบร้อยแลตั้งตัวตรงไม่ท้าวแขน


6. การใช้ผ้าเช็ดมือ เมื่อเข้านั่งโต๊ะอาหารก่อนจะรับประทานควรหยิบผ้าเช็ดมือปูที่ตัก ก่อนดื่มควรใช้ผ้าเช็ดมือเช็ดปากก่อนทุกครั้งเพื่อมิให้แก้วเป็นคราบ ดื่มเสร็จแล้วเช็ดอีกครั้ง


7. ถือช้อนด้วยมือขวาแลส้อมด้วยมือซ้ายในเวลารับประทานอาหารแบบไทย


8. การซดน้ำซุบหรือน้ำแกง ย่อมซดจากข้างช้อนแลซดอย่างเงียบอย่าให้มีเสียงดัง


9. การใช้มีด มีไว้สำหรับตัดอาหาร จะนำไปจิ้มอาหารเข้าปากไม่ได้ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ผู้ใดใช้มีดส่งอาหารเข้าปากผู้นั้นเสียมารยาทอย่างมาก


10. ในการรับประทานอาหารน้ำชาหรือกาแฟ ช้อนกาแฟหรือช้อนชามีไว้สำหรับใช้คนเท่านั้นเมื่อคนเสร็จแล้วต้องว่างไว้ในจานรองถ้วยอย่าคาช้อนไว้ในถ้วย แลอย่าซดจากช้อนเป็นอันขาด


11. การรับประทานอาหารแบบไทยหรือแบบพึ่งตัวเอง เรารับประทานด้วยมองของเราเอง ก่อนรับประทานต้องล้างมือให้สะอาด ใช้ผ้าสะอาดปูลาดบนพื้นบ้าน ผู้ที่จะรับประทานนั่งลงล้อมวงกันตักข้าวใส่จานก้นตื้นให้ครับคนลงมือตักข้าวกับใส่จานด้วยช้อนกลาง ใช้มือขาวขยุ้มของที่ตักมากับข้าวในจานให้เป็นก้อนให้พอดีกับปากของตัว ใช้นิ้วหัวแม่มือผลักก้อนข้าว

ให้เข้าไปอยู่ในปาก ต้องระวังอย่าให้ร่วงหล่นออกจากปากจะเป็นการเสียมารยาท

12. การรับประทานอาหารชนิดช่วยตัวเองหรือบุ๊ฟเฟ่ท์ โดยมากจัดสำหรับเมื่อมีแขกมาก ๆ คือเจ้าของบ้านจะวางอาหารพร้อมทั้งคาวหวานแยกกันไว้เป็นหมู่ จัดอย่างสวยงามทั้งคาวหวาน แล้วเชิญแขกที่รับเชิญไปแบ่งรับประทานเองตามใจชอบ


13. ผู้รับเชิญจะเดินไปหยิบเครื่องมือสำหรับรับประทานก่อน เช่น จาน ชาม ส้อม ช้อน มีด และอื่น ๆ 


14. เมื่อมีเครื่องอุปกรณ์พร้อมแล้วจึงเดินเลือกอาหารตามใจชอบ


15. เราควรจะรู้จักกระเพาะอาหารของเราให้ดีว่าจะบรรจุอาหารนักเท่าใด แล้วแบ่งให้พอดีกับความต้องการของตน อย่าโลภตักแบ่งไปจนรับประทานไม่หมด และอย่าแบ่งโดยคุ้ยเขี่ยทำลายความสวยงามที่เขาตบแต่งอาหารไว้


16. เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้วก็วางไว้ที่ใดที่หนึ่งที่เหมาะแก่จานชามที่ใช้แล้ว หรือส่งให้คนรับใช้ที่เดินเก็บจานชามที่แขกรับประทานเสร็จแล้วก็ได้
มารยาทในการอยู่ร่วมกันในสังคม

ไปลามาไหว้ มารยาทไทยที่เป็นวัฒนธรรมการทักทายเวลาพบปะกันหรือลาจากกัน การไหว้ เป็นการแสดงถึงความมีสัมมาคารวะและการให้เกียรติซึ่งกันและกัน นอกเหนือจากการกล่าวคำว่า สวัสดี แล้วยังแสดงออกถึงความหมาย การขอบคุณ และ การขอโทษ การไหว้เป็นการแสดงมิตรภาพ มิตรไมตรี ที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ซึ่งนับวันจะค่อย ๆ เลือนลางออกไปจากสังคมไทย ด้วยเยาวชนไทยส่วนใหญ่รับเอาวัฒนธรรมต่างชาติมายึดถือปฏิบัติ เช่น การทักทายกันด้วย การจับมือ ด้วยการผงกหัวหรือพยักหน้าต้อนรับกัน โดยปกติความอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นวัฒนธรรมไทยที่แสดงความเคารพด้วยการไหว้ผู้อาวุโส หรือการรับไหว้ผู้อาวุโสน้อย ปัจจุบันกลายเป็นวัฒนธรรมที่เกิดเฉพาะกลุ่ม แทนที่จะเป็นวัฒนธรรมในสังคมของคนทุกชนชั้น
ด้วยสาเหตุที่เยาวชนไทยมองข้ามวัฒนธรรมไทยที่ดีงามถูกต้อง มารยาทในสังคมไทยจึงผิดเพี้ยนไป สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้จัดการเผยแพร่ความรู้เรื่องมารยาทไทยอย่างต่อเนื่อง และได้หยิบยกมารยาทในการพบปะสมาคมในสังคมที่สำคัญมีดังนี้
๑. การรู้จักวางตน ต้องเป็นคนมีความอดทน มีความสงบเสงี่ยม ไม่แสดงกิริยาก้าวร้าว อวดรู้ อวดฉลาด อวดมั่งมี และไม่ควรตีตัวเสมอผู้ใหญ่ แม้ว่าจะสนิทสนมหรือคุ้นเคยกันสักปานใดก็ตาม
๒. การรู้จักประมาณตน มีธรรมของคนดี ๗ ได้แก่ รู้จัก เหตุผล ตน ประมาณ กาล ชุมชน และบุคคล โดยไม่ทำตัวเองให้เด่น เรียกร้องให้คนอื่นสนใจ หรือสร้างจุดสนใจในตัวเรามากเกินไป ตัวอย่าง คำเตือนของหลวงวิจิตรวาทการที่กล่าวไว้ว่า จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย ไม่มีใครเขาอยากเห็นเราเด่นเกิน
๓. การรู้จักการพูดจา ต้องไม่ทักทายปราศรัยกับคนด้วยคำพูดที่จะทำให้คนเขาเกิดความอับอายในสังคม และ ไม่คุยเสียงดังหรือยักคิ้วหลิ่วตาทำท่าทางประกอบจนทำให้เสียบุคลิกภาพได้
๔. การรู้จักควบคุมอารมณ์ คือ รู้จักข่มจิตของตน ไม่ใช่อารมณ์รุนแรงเพื่อไม่ให้ล่วงสิ่งที่ไม่ควรล่วง ได้แก่ การข่มราคะ โทสะ โมหะ ไม่ให้กำเริบเป็นคุณลักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ รู้จักข่มอารมณ์ต่าง ๆ ไม่ทำลายข้าวของ ไม่พูด และแสดงกิริยาประชดประชัน หรือส่อเสียด
๕. การสำรวมกิริยาเมื่อเดินผ่านผู้ใหญ่ ขณะที่เดินผ่านผู้ใหญ่ให้ก้มตัวพองาม หรือหากผู้ใหญ่กำลังเดินไม่ควรวิ่งตัดหน้า ควรหยุดให้ผู้ใหญ่เดินไปก่อน หรือไม่ควรเดินผ่านกลางขณะที่ผู้ใหญ่กำลังพูดกัน
๖. การรู้จักควบคุมอิริยาบถ ถือเป็นคุณสมบัติที่ดี เช่น เมื่อเราได้ยินเสียงเพลงก็ไม่ควรเขย่าตัว กระดิกเท้า หรือเคาะจังหวะโดยไม่เลือกสถานที่ ซึ่งการกระทำดังกล่าวนี้ ถือว่าเป็นอาการของคนที่ไม่ควบคุมอิริยาบถ และไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ
๗. ความมีน้ำใจไมตรีอันดีต่อกัน การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขด้วยความรักและเข้าใจกัน ควรมีความเอื้ออาทร มีน้ำใจไมตรีต่อกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน มีความเห็นอกเห็นใจ เอาใจใส่ ทุกข์สุขของผู้เกี่ยวข้องมุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน ที่สำคัญคือมีน้ำใจในการช่วยเหลือ หรือช่วยทำประโยชน์ให้แก่สังคม
๘. การช่วยเหลือผู้อื่น เป็นคุณธรรมชั้นสูงของการอยู่ร่วมกันในสังคม ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์มีอุดมการณ์สำคัญคือ การช่วยเหลือผู้อื่น พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเป็นปัจฉิมโอวาท ความว่า จงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นด้วยความไม่ประมาทเถิด การยังประโยชน์แก่ผู้อื่น ก็คือ การช่วยเหลือผู้อื่น หรือการปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เพื่อประโยชน์ส่วนรวม สังคมจะมีสันติสุข คือ มีความสงบสุข ถ้าบุคคลในสังคมรู้จักการช่วยเหลือผู้อื่น มีความเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
ลักษณะการแสดงความเคารพด้วยการไหว้ ที่เป็นมารยาทในสังคมที่ควรปฏิบัติกัน คือ
การประนมมือ (อัญชลี) เป็นการแสดงความเคารพ โดยการประนมมือให้นิ้วมือทั้งสองข้างชิดกัน ฝ่ามือทั้งสองประกบเสมอกันแนบหว่างอก ปลายนิ้วเฉียงขึ้นพอประมาณ แขนแนบตัวไม่กางศอก ทั้งชายและหญิงปฏิบัติเหมือนกัน การประนมมือนี้ ใช้ในการสวดมนต์ ฟังพระสวดมนต์ ฟังพระธรรมเทศนา ขณะสนทนากับพระสงฆ์ รับพรจากผู้ใหญ่ แสดงความเคารพผู้เสมอกัน และรับความเคารพจากผู้อ่อนอาวุโสกว่า เป็นต้น
การไหว้ (วันทนา) เป็นการแสดงความเคารพ โดยการประนมมือ แล้วยกมือทั้งสองขึ้นจรดใบหน้าให้เห็นว่า เป็นการแสดงความเคารพอย่างสูง การไหว้แบบไทย แบ่งออกเป็น ๓ แบบ ตามระดับของบุคคล
-
ระดับที่ ๑ การไหว้พระ ได้แก่ การไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รวมทั้งปูชนียวัตถุ ปูชนียสถาน ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในกรณีที่ไม่สามารถกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ได้ โดยประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วแนบส่วนบนของหน้าผาก
-
ระดับที่ ๒ การไหว้ผู้มีพระคุณและผู้อาวุโส ได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ครู อาจารย์ และผู้ที่เราเคารพนับถือ โดยประนมมือ แล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลง ให้หัวแม่มือจรดปลายจมูก ปลายนิ้วแนบระหว่างคิ้ว
-
ระดับที่ ๓ การไหว้บุคคลทั่ว ๆ ไป ที่เคารพนับถือหรือผู้มีอาวุโสสูงกว่าเล็กน้อย โดยประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดปลายคาง ปลายนิ้วแนบปลายจมูก
อนึ่ง สำหรับหญิงการไหว้ทั้ง ๓ ระดับ อาจจะถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งตามถนัดไปข้างหลังครึ่งก้าว แล้วย่อเข่าลงพอสมควรพร้อมกับยกมือขึ้นไหว้ก็ได้
โดยปกติวัฒนธรรมการไหว้เป็นวิถีชีวิต ที่ถูกปลูกฝังให้รู้จักกาลเทศะ รู้จักการเคารพผู้อาวุโส กตัญญูรู้บุญคุณ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การมีมารยาทในสังคมดังกล่าวข้างต้น โดยเฉพาะในเรื่องการเคารพผู้อาวุโส ต้องมีความอ่อนน้อมถ่อมตน การแสดงความเคารพในโอกาสต่าง ๆ การรู้จักจัดลำดับการวางตนที่ถูกต้องตามประเพณีที่วางเอาไว้ ทำให้เกิดความสงบสุขในสังคม เพราะการปฏิบัติขัดกับประเพณีที่วางไว้ จะทำให้เกิดความขัดแย้ง ขัดเคืองความรู้สึกซึ่งกันและกัน การมีกฎเกณฑ์มารยาทในสังคมเป็นบรรทัดฐานให้บุคคลดำเนินชีวิตได้อย่างสันติสุข